จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 307: การดัดแปลงพฤติกรรม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-307

      

มีตัวอย่างมากมายของการดัดแปลงพฤติกรรม (Behavior modification) เช่นการฝึกใช้ห้องน้ำของเด็ก 3 ขวบ, การลดการปฏิเสธอาหารของเด็กเล็ก, การห้ามกินชอล์กสีเป็นอาหาร, การหยุดมิให้เด็กทำร้ายตัวเอง, และการเลิกไม่เชื่อฟังหรือไม่ปฏิบัติตาม (Non-compliance)

การดัดแปลงพฤติกรรม (Behavior modification) คือการรักษา (Treatment) หรือการบำบัด (Therapy) ที่เปลี่ยนหรือดัดแปลงปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของพฤติกรรม โดยใช้หลักการการเรียนรู้บนพื้นฐานของการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning), เงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning), การเรียนรู้ผ่านปัญญาทางสังคม (Social cognitive learning)

เป็นเวลานานกว่า 45 ปีมาแล้ว ที่นักจิตวิทยาการแพทย์ (Clinical psychologist) และนักวิจัย อีวาร์ โลวาส (Ivar Lovaas) แห่ง มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ณ ลอสแอลเจลิส (University of California at Los Angeles : UCLA) ใช้การดัดแปลงพฤติกรรม หรือมักเรียกขานกันว่า “พฤติกรรมเพื่อบำบัดเด็กออทิสติก” (Autistic)

ผลงงานของโลวาส ค่อนข้างน่าประทับใจเพราะว่าเขาเป็นคนแรกที่ดัดแปลงขั้นตอนต้นแบบพฤติกรรม (Behavior mod) เพื่อบำบัดปัญหาที่รุนแรงในเด็กออทิสติก

ออทิสติกคือการผิดปกติหรือการด้อยพัฒนา (Impaired development) ในปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social interaction) ยกตัวอย่างเช่น แอบเพื่อไม่พบผู้คน, ไม่ยอมสบตาคน, และไม่ชอบให้ถูกสัมผัส

ออทิสติกอยู่ในประเภทของการสื่อสารที่ยากลำบาก ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาร้ายแรง (Grave) ในการพัฒนาภาษาพูด หรือการริเริ่ม (Initiate) การพูดคุยสนทนา (Conversation)

ออทิสติกถูกจำแนกเป็นลักษณะโดยที่มีกิจกรรรมและมีความสนใจที่น้อย, ใช้เวลานานกับพฤติกรรมซ้ำๆ, หรือปฏิบัติตามพิธีกรรม (Ritual) รบกวนการทำงานตามปรกติ (Normal function) สัญญานของออทิสติกจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 2 – 3 ขวบ

อย่างไรก็ตาม ความบกพร่องทางสังคมและการสื่อสาร ของคนที่เป็นออทิสติกมีตั้งแต่ปานกลาง (Moderate) จนถึงรุนแรง (Severe) คนที่เป็นออทิสติกหลายคนยังคงไม่มีการตอบสนองทางสังคม และปราศจากทักษะในการสื่อสาร (Communication skill) เว้นเสียแต่ว่า พวกเขาได้รับการรักษา

ประเภทหนึ่งของการรักษาออทิสติกมาจากผลงานของ ดร. โลวาส เขาใช้เทคนิค (Technique) ของการดัดแปลงพฤติกรรมอันอยู่บนพื้นฐานของหลักการ (Principle) การวางเงื่อนไขการกระทำและการเรียนรู้ผ่านปัญญาทางสังคม

โปรแกรมของ ดร. โลวาส ที่ UCLA เรียกว่า “โครงการออทิสติกในเด็กเล็ก” (Young Autism Project) ซึ่งรักษาเด็กอายุ 2 – 3 ขวบ ที่มีอาการออทิสติก โดยเป็นโปรแกรม 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 2 – 3 ปี

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioning - https://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2021, Febuary 27].
  3. Ole Ivar Lovaas - https://en.wikipedia.org/wiki/Ole_Ivar_Lovaas [2021, Febuary 27].
  4. Autism - https://en.wikipedia.org/wiki/Autism[2021, Febuary 27].