จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 306: มุ่งเน้นงานวิจัย: การไม่ปฏิบัติตาม (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 21 กุมภาพันธ์ 2564
- Tweet
นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยใช้การวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning ) เพื่อบำบัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในตัวเด็กเล็ก
ขั้นตอนของการทดลองคือนักวิจัยได้เริ่มจากการสังเกตแม่ ที่สร้างคำขอทั่วไป (Typical request) และจดบันทึกอัตราการปฏิเสธ(Refusal) ของพวกเด็ก อันเรียกว่า บรรทัดฐาน (Baseline) ต่อมาได้แสดงหลายขั้นตอน แต่เราจะมุ้งเน้นอันที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดซึ่งเรียกว่า “ขอเวลานอก” (Time-outs)
ถ้าแม่ของหนูน้อยมอร์แกน (Morgan) สร้างคำขอ แล้วเธอปฏิบัติติตาม แม่ของเธอก็จะตอบสนองมอร์แกนโดยเสริมแรง (Reinforce) ด้วยคำชม (Praise) อย่างไรก็ตามถ้ามอร์แกนไม่ทำตาม แม่ของเขาจะใช้ขั้นตอนของการขอเวลานอก เธอจะถูกพาไปอีกห้องนึงแล้วนั่งที่มุมห้อง (Corner) โดยถูกสั่งว่าห้ามทำอะไรเลย (ไม่มีโทรทัศน์, หนังสือ, หรือของเล่น) โดยนั่งเงียบๆ (Silently) หันหน้าเข้าหากำแพงเฉยๆ เป็นเวลา 1 นาที
หลังจาก 1 นาที แม่จะอนุญาตให้มอร์แกนออกจากมุมแล้วกลับไปอยู่กับแม่อีกครั้ง (Rejoin) ต่อจากนั้นแม่ของเธอจะสร้างคำขอต่อไปกับเธอ ถ้าเธอทำตาม แม่จะให้คำชมกับเธอ ถ้าเธอไม่ทำตาม (Non-compliance) ก็จะใช้ขั้นตอนขอเวลานอกอีกครั้ง ขั้นตอนทุกอย่างทำที่บ้านโดยแม่ของพวกเด็กๆ
ในช่วงบรรทัดฐาน นักวิจัยสังเกตจำนวนครั้งที่มอร์แกนยอมทำหรือไม่ยอมทำตามคำขอแม่ของเธอ ในช่วงบรรทัดฐานแม่ของเธอได้สร้าง 5 - 8 คำขอซึ่งถูกปฏิเสธ โดยเฉพาะ 5 ครั้งสุดท้าย การปฏิบัติตามคำขอของแม่เธอเกือบเป็น 0% โดยที่แม่ของเธอได้ดุว่า (Scolding) บ้าง, วิงวอน (Pleading) บ้าง, หรือตำหนิ (Reprimand) บ้าง
ในบันทึกข้อสังเกต ทุกครั้งที่มอร์แกนปฏิเสธแม่ แม่ของเธอจะขอเวลานอก ซึ่งมีการชมทุกครั้งที่ทำตามคำขอ จะเห็นได้ว่ามอร์แกนเริ่มทำตาม 12% ค่อยๆ เขยิบถึง 60% ในครั้งที่ 8 - 11 และตามมาจนถึง 100% ในครั้งที่ 12 ใน 6 สัปดาห์ต่อมา การทดลองโดยใช้การขอเวลานอกอีก มอร์แกนได้แสดงให้เห็นถึง 100% ในการที่จะปฏิบัติติตามคำขอของแม่
การศึกษาประเภทนี้แสดงให้เห็นว่า ขั้นตอนการขอเวลานอก มีประสิทธิภาพในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงการไม่เชื่อฟัง (Non-compliance), อารมณ์ฉุนเฉียว (Temper tantrum), และพฤติกรรมก่อกวน (Disruptive activities)
ขั้นตอนการขอเวลานอกเป็นตัวอย่างของการลงโทษในแง่ลบ (Negative punishment) โดยเอาสิ่งเร้า (Stimuli) ออก, ลดอิสรภาพ (Freedom) ในการเล่น, ลดการตอบสนอง (Response) ที่ไม่ต้องการ, และลดการไม่ปฏิบัติตาม วิธีนี้ใช้ได้ผลกว่าการลงโทษทางบวก เพราะสามารถส่งผลต่อการโต้กลับทางอารมณ์ (Emotional reaction) และการโต้กลับความรู้สึกในแง่ลบที่มีต่อพ่อแม่ (ผู้ลงโทษ)
ขั้นตอนการขอเวลานอกเป็นตัวอย่างของหลักการ (Principle) การวางเงื่อนไขการกระทำ ที่สามารถนำมาดัดแปลง (Modify) เพื่อประยุกต์ใช้ (Apply) กับพฤติกรรมของคน
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioning - https://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2021, Febuary 20].