จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 304: การเรียนรู้แบบเตรียมตัว (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-304

      

เช่นเดียวกับนก เด็กบางคนที่มีการเตรียมพร้อมทางชีวภาพ (Biologically prepared) ในการจดจำพื้นที่ซ่อนเร้น ที่อยู่ในจุดสำคัญ (Critical) คนเรามีการเตรียมพร้อมทางชีวภาพเพื่อสร้างเสียง (Sound) และคำพูด (Speech)ได้อย่างน้อย 1 ใน 6,000 ภาษาที่แตกต่างกัน

ปลายปีคริสต์ทศวรรษที่ 1940s นักจิตวิทยา (Psychologists) 2 ท่านสงสัยว่าถ้าลิงชิมแพนซี (Chimp) สามารถเรียนรู้ที่จะพูดได้ไหมถ้าพวกมันอยู่ท่ามกลาง (Surround) ผู้ใหญ่และเด็กที่สามารถพูดได้ในฐานะเพื่อนพูดคุย (Companion)

ในการตอบคำถามข้างต้น นักจิตวิทยาทั้ง 2 ท่าน (สามีและภรรยา) ได้เลี้ยง (Raise) ลิงชิมแพนซีในบ้านพร้อมกับลูกของพวกเขาเอง อย่างไรก็ ตามหลังจากที่พยายามมา 6 ปี ลิงเรียนรู้ที่จะพูดได้ทั้งหมด 3 คำ “มาม่า (Mama), ปาป้า (Papa), และ คัป (Cup = แก้วน้ำ)”

ในเวลานั้นสองสามีภรรยายังไม่รู้ว่า กล่องเสียง (Vocal apparatus) และสมองของลิงไม่มีการเตรียมพร้อมทางชีวภาพ เพื่อสร้าง (Produce) เสียงและคำสำหรับคำพูดของคน

เหตุผลเพราะว่าคน (แต่ไม่ใช่ลิงหรือสัตว์ชนิดอื่น) เรียนรู้ที่จะพูดได้ง่ายเพราะสมองและกล่องเสียงของคนมีการเตรียมพร้อมทางชีวภาพ หรือมีการเชื่อมโยงโดยกำเนิด (Innately wired) สำหรับการพูด

ยกตัวอย่างเช่น สมองของเด็กแรกเกิด (New-born infant) มีการเตรียมพร้อมทางชีวภาพในการแยกแยะระหว่างเสียงพูดที่แตกต่างกัน นักวิจัยค้นพบ (Discovered) ความสามารถนี้จากการเล่นเสียงพูดกับทารกที่ยังดูด (Suck) หัวนม (Nipple) แม่ แล้วบันทึกไว้

หลังจากที่ทารกแรกเกิด ได้ยินคำว่า “บา” ครั้งแล้วครั้งเล่า อัตราการดูดดนมแม่ช้าลง อันบ่งชี้ (Indicate) ว่า เด็กให้ความสนใจ (Attention) เล็กน้อยต่อเสียงนี้ หลังจากที่นักวิจัยใช้เสียง “ปา” อัตราการดูดนมแม่เพิ่มขึ้น อันบ่งชี้ว่า เด็กสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยระหว่างเสียง “บา” และ “ปา”

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสมองของเด็กทารกมีการเชื่อมโยงล่วงหน้า (Pre-wired) หรือมีการเตรียมพร้อมทางชีวภาพ เพื่อแยกแยะ (Discriminate) ระหว่างเสียงที่มีความสำคัญ (Essential) ในการเรียนรู้เรื่องพูด

ในความเป็นจริง เด็กทารกทั่วโลกมีเสียงพูดพล่าม (Babbling) ที่คล้ายกัน อันบ่งชี้ถึงอิทธิพล (Influence) และความสำคัญของปัจจัยทางชีวภาพในการเรียนรู้ที่จะพูด

สรุปได้ว่าหลักการ (Principle) การเรียนรู้ของพัฟลอฟ (Pavlov), ทอร์นไดค์ (Thorndike), และสกินเนอร์ (Skinner) ไม่ได้อธิบายว่าหนูสร้างแผนที่ทางปัญญา (Cognitive map) อย่างไร, ทารกสามารถสร้างและแยกแยะได้อย่างง่ายดายระหว่างเสียงพูดของคนอย่างไร, ทำไมลิงถึงปั้นและกลิ้ง (Roll) ลูกบอลหิมะ (Snow-ball), ทำไมลูกไก่ (Chick) ถึงเดินตามสิ่งแรกที่พวกมันเห็นเคลื่อนไหว (Moving object), หรือทำไมนกบางชนิดถึงจำพื้นที่ที่พวกมันเก็บอาหารไว้ได้นับพันๆ แห่ง

ตัวอย่างข้างต้นบ่งชี้ว่าปัจจัยทางชีวภาพตั้งแต่กำเนิด (Innate) ได้เตรียมเพื่อให้คนและสัตว์ สามารถเรียนรู้พฤติกรรมบางประเภทที่จำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่รอด (Survival)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioning - https://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2021, Febuary 6].