จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 302: ปัจจัยทางชีวภาพ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 24 มกราคม 2564
- Tweet
ผู้ชำนาญชาติพันธุ์ (Ethnologist) เป็นนักชีววิทยาผู้สังเกตและศึกษาพฤติกรรมสัตว์ ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของสัตว์หรือภายใต้เงื่อนไขที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ (Relatively naturalistic) ตัวอย่างเช่น ผู้ชำนาญชาติพันธุ์ชาวออสเตรีย คอร์นหราด ลอเรนส์ (Konrad Lorenz) ได้ศึกษาเกี่ยวกับลูกไก่ (Chick), ลูกห่าน (Gosling), และเป็ด (Duck) ว่าสามารถเดินไปรอบๆ ได้ประมาณหลายนาทีหลังฟักตัว (Hatching)
ลอเรนส์ค้นพบว่า ลูกสัตว์พวกนี้จะเดินตามสิ่งแรกที่พวกมันเห็นว่าขยับ ซึ่งส่วนใหญ่คือแม่ของพวกมัน พฤติกรรมการตามนี้เป็นตัวอย่างของการเรียนรู้แบบฝังใจ (Imprinting) ซึ่งหมายถึง แนวโน้มหรือการตอบสนอง (Responses) ที่ได้รับตกทอดมา (Inherited) อันแสดงให้เห็นภาพในสิ่งสัตว์แรกเกิด เมื่อพวกมันพบกับสิ่งเร้า (Stimuli) บางอย่างในสภาพแวดล้อม
การฝังใจเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้เรียนรู้ (Unlearn) แต่อยู่ในรากฐานของปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factor) และมีคุณค่าในการเอาชีวิตรอดสูง (Survival value) ซึ่งเพิ่มโอกาสให้นกที่พึ่งฟักตัวออกมาจะคงอยู่หรือตามพ่อแม่ของพวกมัน แทนที่จะเดินไปให้พวกนักล่าเหยื่อ (Predator) กิน นอกจากไม่ใช่ได้เรียนรู้ ลอเรนส์ยังพูดถึง 2 ความแตกต่างหลักระหว่างการฝังใจและการเรียนรู้แบบอื่นๆ
ไม่เหมือนกับการวางเงื่อนไขคลาสสิต (Classical conditioning), การวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning), และการเรียนรู้ทางปัญญา (Cognitive learning) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างช่วงชีวิตของสัตว์ การฝังใจเกิดขึ้นดีที่สุดระหว่างช่วงไม่กี่ชั่วโมงขณะฟักตัว ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่าจุดวิกฤต (Critical) หรือช่วงเวลาที่อ่อนไหว (Sensitive)
ช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น หมายถึงช่วงเวลาที่สั้น (Brief) ในขณะที่มีการเรียนรู้กำลังเกิดขึ้น โดยปกติสิ่งแรกที่ลูกเป็ดพึ่งฟักเห็นคือพ่อแม่พวกมัน ซึ่งเป็นตัวที่พวกมันเลือกที่จะฝังใจ สรุปได้ว่าการฝังใจเป็นแนวทางที่พวกลูกเป็ดจะสร้างความเชื่อมโยงความผูกพันทางสังคม (Social attachment) ให้กับสัตว์สายพันธุ์ (Species) เดียวกันกับพวกมัน
อย่างไรก็ตาม นกแรกเกิดจะมีการเรียนรู้แบบฝังใจกับเกือบทุกสิ่งที่สามารถขยับได้ในสิ่งแรกที่พวกมันเห็น รวมไปถึงคน, ลูกบอลสี, หรือถุงมือ แต่สิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการเรียนรู้แบบฝังใจขิงลูกนก ก็คือสิ่งที่ดูเหมือนหรือเสียงคล้ายพ่อแม่ของพวกมัน สำหรับนกที่สามารถเดินได้ทันทีหลังฟักตัว แสดงการเรียนรู้แบบฝังใจอันเพิ่มโอกาสให้มันมีชีวิตรอด
แตกต่างจากการเรียนรู้แบบคลาสสิค, แบบการกระทำ, และแบบปัญญานิยม ซึ่งปกติส่งผลกลับกันได้ (Reversible effect) แต่การเรียนรู้แบบฝังใจไม่อาจกลับกันได้ ซึ่งส่วนใหญ่การฝังใจพัฒนาเป็นสิ่งที่กลับไม่ได้ เพื่อว่าลูกเป็ดจะไม่เรียนรู้การฝังใจจากแม่มัน 1 สัปดาห์และไปเรียนรู้เล่ห์เหลี่ยม (Sly) จากหมาจิ้งจอกในสัปดาห์ต่อไป
ในโปรแกรมที่ป้องกันการสูญพันธ์ (Extinct) ของนกแร้ง (Condor) ในสวนสัตว์แซนดิเอโก้ (San Diego Zoo) รัฐแคลิฟอร์เนีย ลูกของพวกมันถูกนำมาฟักตัวในสวนสัตว์และเลี้ยงดูโดยคน เพราะว่าการเรียนรู้แบบฝังใจเกิดขึ้นในช่วงแรกและส่งผลกลับไม่ได้ แต่ก็มีกฎพิเศษมิให้นกแร้งเหล่านั้นมาเรียนรู้การฝังใจในคน เมื่อไหร่ที่ลูกแร้งเหล่านี้โตและกลับสู่ธรรมชาติ (Re-introduced) มันจะสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมกับสายพันธ์เดียวกันกับพวกมัน
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Ethology - https://en.wikipedia.org/wiki/Ethology[2021, January 23].
- Konrad Lorenz - https://en.wikipedia.org/wiki/Konrad_Lorenz [2021, January 23].