จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 301: ปัจจัยทางชีวภาพ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-301

      

หลายคนอาจจะจำได้สิ่งที่ยากในการเรียนรู้เช่นการอ่าน, การเขียน, การขี่จักรยาน, การใช้เครื่องสำอาง, หรือการโกนหนวด แต่ไม่มีใครจำได้ว่าความยากในการเรียนรู้ที่จะเล่นเป็นอย่างไร

สำหรับเด็กการเล่นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่มาจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับเด็กที่มีส่วนร่วม (Engage) ในพฤติกรรมการเล่น โดยให้กำลังใจ (Encouragement) เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย, รางวัล (Reward), กับการเรียนรู้

ลิงก็เช่นกัน ลิงตัวเล็กๆ ก็เรียนรู้ที่จะกลิ้ง (Roll) บอลหิมะ (Snowball) แล้วถือไปมาโดยที่ไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากเล่น ในความเป็นจริงแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal) ในวัยเด็กมีส่วนร่วมในพฤติกรรมการเล่นที่มากมายออกไป อันไม่สามารถอธิบายได้ด้วย 3 ขั้นตอของการเรียนรู้ [การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning), การวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning), หรือการเรียนรู้ทางปัญญา (Cognitive learning)]

การสังเกตในสัตว์ และคนบ่งชี้ถึงพฤติกรรมบางอย่าง เช่นการเล่น เป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้ความพายายามในการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งเพราะเป็นการเรียนด้วยปัจจัยทางชีวภาพตั้งแต่เกิด (Innate biological Factor)

ปัจจัยทางชีวภาพหมายถึงแนวโน้ม (Pre-disposition) โดยกำเนิด ว่าเป็นสิ่งจูงใจที่เอื้ออำนวย (Facilitate) หรือหยุดยั้ง (Inhibit) การเรียนรู้บางอย่าง

นักวิจัยแนะนำว่าสัตว์และคน อาจมีการพัฒนาแนวโน้มทางชีวิภาพเพื่อเรียนรู้ในพฤติกรรมการเล่นเพราะว่า มีหน้าที่ในการปรับตัว (Adaptive function) ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม (Social relationship) ร่วมกันในหมู่เพื่อนฝูง (Peers)

นอกจากนั้น ยังมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ต่อบทบาท (Role) ในวัยที่เติบโต ซึ่งหมายความว่าสัตว์และคนมีปัจจัยชีวภาพโดยกำเนิด หรือแนวโน้มที่จะสร้างการเรียนรู้บางอย่าง เช่นพฤติกรรมการเล่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายมากและไม่ต้องมีความพายายาม (Effortless)

อีกมุมหนึ่งพฤติกรรมการเล่น มี 2 ตัวอย่างของการเรียนรู้ กล่าวคือ การเรียนรู้แบบฝังใจ (Imprinting) และการเรียนรู้แบบเตรียมพร้อม (Preparedness) ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ง่ายเนื่องจากปัจจัยทางชีวภาพ

ตั้งแต่ลูกไก่เริ่มฟักตัวออกมาโดยที่ไม่ได้รับการเรียนรู้ใดๆ พวกมันจะเดินตามแม่ของมัน

พฤติกรรมการตามนี้ไม่สามารถอธิบายโดยการใช้หลักการการเรียนรู้ใด แยกแยะโดยพัฟลอฟ (การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค), ธอร์นไดค์ (การเรียนรู้แบบการลองผิดถูก), หรือสกินเนอร์ (การวางเงื่อนไขการกระทำ)

ดูเหมือนว่าลูกไก่ไม่มีพฤติกรรมการเรียนรู้ของการเดินตามแม่ของพวกมัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่แตกต่างจากที่เคยกล่าวถึงโดยเหล่าผู้ชำนาญชาติพันธุ์ (Ethologists)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Ethology - https://en.wikipedia.org/wiki/Ethology[2021, January 16].