จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 300: การมองทะลุ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 10 มกราคม 2564
- Tweet
อย่างไรก็ตาม มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ (Critics) การมองทะลุ (Insight) ของวุลฟแกงค์ (Wolfgang) ชี้ให้เห็นว่าเขาไม่ได้บอกว่าลิงชิมแพนซีแก้ปัญหาได้อย่างไร แต่เขาอธิบายถึงกระบวนการ (Process)
ผู้วิพากษ์วิจารณ์ครั้งนี้ ยังบอกว่าลิงที่สามารถแก้ปัญหาของวุลฟแกงค์ได้ดีคือลิงตัวที่มีประสบการณ์ในการเคลื่อนย้าย (Retrieve) สิ่งของ เพราะฉะนั้นการพัฒนาของการมองทะลุขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ตนเคยผ่านมา
วุลฟแกงค์ตอบว่าการศึกษาการมองทะลุของเขาเหมือนกับการศึกษาวิธีแก้ปัญหามากกว่าการอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในสมองของลิง นัยยะสำคัญของงานวุลฟแกงค์คือมันแสดงให้เห็น (Represent) ขั้นตอนการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) หรือการลองผิดลองถูกแบบสุ่ม (Random trial-and- error)
ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990s มีความสนใจใหม่เกี่ยวกับการทำงานของสมองสัตว์ ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่าปัญญานิยมของสัตว์ (Animal cognition) เช่นเดียวกับการเรียนรู้การมองทะลุในคน
ในขณะที่ลิงซูลตาน ดูเหมือนจะหาคำตอบของปัญหาเจอได้ทันที ก็มีการรายงานว่า คนเราสามารถมีประสบการณ์ทันทีที่คาดไม่ถึงและบังเอิญในการแก้ปัญหาที่ยากหรือท้าทายได้เช่นกัน เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าประสบการณ์ “อ่าฮ่า” หรือการมองทะลุแบบรวดเร็ว
คนเราอาจเคยมีประสบการณ์ “อ่าฮ่า” เมื่อแก้ปัญหาที่ยากได้ มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่ผู้ชายคนหนึ่งเข้าไปขอน้ำดื่ม 1 แก้วในร้านเครื่องดื่มจากนั้น คนเสิร์ฟ (Bartender) ได้ใช้ปืนจี้ไปที่เขา แล้วเขาก็ตอบกลับไปว่า “ขอบคุณ” ก่อนที่เดินจากไป
จากเรื่องเล่าข้างต้น มีวิกฤตเกิดขึ้นสองอย่างในเหตุการณ์นั้นคือการขอน้ำดื่ม 1 แก้ว และคนเสิร์ฟได้ปืนจี้ไปที่หน้าผู้ชายคนนั้น ในกรณีนี้อาจมีแค่บางคนเข้าใจคำตอบเวลาสั้น แต่ก็คงมีอีกหลายๆ คนไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้แม้ในเวลา 2 ชั่วโมง
ปัญหานี้เกิดขึ้นจากผู้ชายมีอาการสะอึกและต้องการดื่มน้ำเพื่อรักษาอาการนี้ แต่หลังจากดื่มน้ำแล้ว อาการของเขาไม่ดีขึ้นคนเสิร์ฟเลยต้องการหาอะไรที่ทำให้เขาตกใจเพื่อช่วยชายคนนี้ เขาเลยหยิบปืนขึ้นมาจี้ ผู้ชายคนนั้นตกใจมากจนหายจากอาการสะอึกไปเลย แล้วตอบกลับไปว่า “ขอบคุณ” ก่อนที่จะเดินจากไป
มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่แก้ได้ (Solver) และผู้ที่แก้ไม่ได้ (Non-solver) ในกลยุทธ์ทางปัญญา (Cognitive strategy) ที่พวกเขาใช้ ผู้ที่ไม่ได้แก้จะมุ่งเน้น (Focus) ไปที่สิ่งทั่วไปที่เห็นเด่นชัด (Obvious element) เช่น ผู้ชาย, คนเสิร์ฟ, และแก้วน้ำ แต่ไม่มุ่งเน้นไปที่แนวความคิด (Concept) ใหม่ๆ เช่น สะอึกและการรักษา ซึ่งนำพา (Lead) ไปสู่คำตอบ
ในทางเปรียบเทียบ (Comparison) ผู้แก้ปัญหาได้จะคอยนำข้อมูลชิ้นใหม่ๆ (Piece of information) เข้ามาและเมื่อไหร่ที่พวกเขาหาข้อมูลที่ขาดหายไปเจอ (รักษาอาการสะอึก) คำตอบก็จะตามมาทันทีเหมือนความรู้สึก “อ่าฮ่า” ที่ วุลฟแกงค์บอกเกี่ยวกับการมองทะลุ
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Cognitive learning - https://www.indeed.com/career-advice/career-development/cognitive-learning [2021, January 9].
- Wolfgang Kholer - https://en.wikipedia.org/wiki/Wolfgang_K%C3%B6hler [2021, January 9].