จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 299: การมองทะลุ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-299

      

เอ็ดเวิร์ด ทอร์นไดค์ (Edward Thorndike) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาว่าแมวสามารถหนีออกจากกล่องเขาวงกตเพื่อออกมากินปลาได้อย่างไร

เขาสรุปว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการของการลองผิดถูก (Trial and error) ในระหว่างที่แมวค่อยๆ สร้างการเชื่อมโยง ระหว่างเลื่อนสลักกุญแจ (Latch) และเปิดประตู ซึ่งไม่มีแมวตัวไหนแสดงประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ให้เห็นว่ามันสามารถค้นพบทางออกได้ตั้งแต่แรก

ในขณะที่ทอร์นไดค์อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของการลองผิดถูกของแมวที่จะหนีออกจากกล่องวงกต วุลฟแกงค์ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ที่อยู่ในเยอรมัน ได้ศึกษาลิงชิมแพนซี (Chimpanzees) เรียนรู้การได้กล้วยมาครอบครองทั้งๆ ที่อยู่ไกลเกินเอื้อม

วุลฟแกงค์ ท้าทายบทสรุปของทอร์นไดค์ที่ว่าสัตว์เรียนรู้ได้เพียงผ่านการลองผิดถูก โดยเขาแนะว่าแมวและสัตว์อื่นที่เราสังเกตในสิ่งรอบด้าน (Circumstance) ที่ถูกต้องสามารถแก้ปัญหาให้ตัวเองได้ทันที (Flash) เรียกว่า มองทะลุ (Insight)

การมองทะลุเป็นกระบวนการทางจิตที่เป็นวาระเหตุการณ์ (Marked) โดยคำตอบที่กะทันหันและคาดหวังไว้ต่อปัญหา ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดคือประสบการณ์ประหลาดใจที่เราชอบพูดว่า “อ่าฮ่า” (Ah ha!) ตัวอย่างของลิงชิมแพนซีที่ศึกษาโดยวุลฟแกงค์ ได้แสดงให้เห็นการมองทะลุในการเอากล้วยที่ห้อยโตงเตงเกินเอื้อม

การทดลองแบบดั้งเดิม (Classic experiment) ในทางจิตวิทยาชี้ให้เห็นการเรียนรู้แบบใหม่ สิ่งที่วุลฟแกงค์ทำคือการแขวนกล้วยบนเพดาน (Ceiling) ห้องที่มีกล่องวางไว้อยู่มุมหนึ่ง

กล้วยที่แขวนนั้นอยู่สูงไปสำหรับซูลตาน (Sultan) ซึ่งเป็นชื่อของลิง ที่จะเอื้อมหรือกระโดดหยิบ (Grab) เมื่อมันเข้าไปในห้องครั้งแรก มันอยู่ไม่นิ่ง (Restless) สัก 5 นาที และเดินไปเลื่อนกล่องให้ตรงที่แขวนกล้วย แล้วมันก็ปีนขึ้นกล่องและกระโดดหยิบกล้วย

ต่อมาในการลองครั้งที่สองซูลตานขยับกล่องเร็วขึ้นไปตรงที่แขวนกล้วยแล้วกระโดดหยิบกล้วย สิ่งที่ทำให้วุลฟแกงค์ทึ่ง (Intrigued) ในพฤติกรรม (Behavior) แก้ปัญหาของมันก็คือ มันไม่เหมือนกับพฤติกรรมลองผิดลองถูกอย่างสุ่ม (Random) เหมือนของแมวทอร์นไดค์

ก่อนที่ซูลตานจะพบวิธีแก้ปัญหา มันอาจจะก้าว (Pace) ไปรอบๆ , นั่งเฉยๆ, หรือเข้าใจว่าเปล่าประโยชน์ในการเอื้อมให้ถึงกล้วย ทันใดนั้นมันก็เจอคำตอบ แล้วดำเนินพฤติกรรมที่ซับซ้อน (Complicated) ออกมาเป็นชุด เช่น ยืนบนกล่อง เพื่อจะไปเอากล้วย

วุลฟแกงค์เชื่อว่าการที่ซูลตานค้นพบการแก้ปัญหาทันทีคือตัวอย่างของการมองทะลุ ซึ่งเป็นกระบวนการทางจิตที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่ทอร์นไดค์เคยสังเกต ในการเรียนรู้โดยลองผิดลองถูกของแมว

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Edward Thorndike - https://en.wikipedia.org/wiki/Edward_Thorndike [2021, January 2].
  3. Wolfgang Kholer - https://en.wikipedia.org/wiki/Wolfgang_K%C3%B6hler [2021, January 2].