จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 296: การเรียนรู้โดยการสังเกต (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 14 ธันวาคม 2563
- Tweet
เป็นไปได้ไหมที่คนสามารถเรียนรู้โดยการสังเกต (Observe) แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องแสดง (Perform) สิ่งที่ตนเองเห็นออกมา? เพื่อตอบข้อสงสัยด้านบน อัลเบิร์ต แบนดูร่า (Albert Bandura) และทีมงาน (Colleague) ของเขาขอให้กลุ่มเด็กดูหนังอันมีคนตี และเตะตุ๊กตาล้มลุก (Bobo doll)
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ตีและเตะตุ๊กตาล้มลุก เด็กในหนังได้ถูกลงโทษโดยเสียงดังดุว่า (Criticized) และโดนตบ (Spanked) ต่อมาเด็กแต่ละคนนั้นได้ถูกปล่อยให้อยู่ในห้องที่มีของเล่นต่างๆ รวมถึงตุ๊กตาล้มลุก
ผู้ทำการทดลองได้เฝ้าดูเด็กแต่ละคนผ่านกระจกที่มองผ่านได้เพียงด้านเดียว (One-way mirror) นักวิจัยได้พบว่ามีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงที่เลียนแบบ (Imitate) ตัวอย่าง (Model) แล้วแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว (Aggressive) ใส่ตุ๊กตาล้มลุก แต่ไม่ใช่เด็กผู้ชายทุกคนที่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
ต่อมาเด็กผู้ชายแต่ละคนที่ไม่ได้แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวใส่ตุ๊กตาล้มลุก จะได้รับรางวัล (Reward) ซึ่งเป็นสติ๊กเกอร์ (Sicker) หรือน้ำผลไม้ เพื่อให้ลอกเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากตัวอย่าง ด้วยสัญญา (Promise) ที่จะให้รางวัล กลายเป็นว่าเด็กผู้ชายทุกคนก็จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกับตุ๊กตา
ขั้นตอนต่อไป เราจะมาตรวจสอบรายละเอียดเด็กผู้หญิงเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งคล้ายกับเด็กผู้ชาย แต่น่าทึ่ง (Dramatic) กว่า กล่าวคือ เด็กผู้หญิงที่เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวหลังจากดูหนังที่มีตัวอย่างของคนแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวใส่ตุ๊กตา และต่อมาโดนลงโทษ (Punish) เพราะความก้าวร้าว จะอยู่ในระดับ (Scale) ที่ 0.5
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลังจากดูตัวอย่างในหนังแล้วโดนลงโทษ เพราะมีพฤติกรรมก้าวร้าว จะมีเด็กผู้หญิงที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กผู้หญิงกลุ่มนั้นได้รับการสัญญาว่า จะได้รับรางวัลสำหรับการเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว เด็กผู้หญิงกลุ่มนี้ก็จะได้เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวที่ระดับ 3.0 ของพฤติกรรมก้าวร้าว [กล่าวคือเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า]
การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กผู้หญิงเรียนรู้พฤติกกรมก้าวร้าวผ่านการสังเกต แต่บางคนไม่แสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมาจนกว่าจะได้รับรางวัลถ้าทำมัน และนี่เป็นตัวอย่างของความแตกต่างในการเรียนรู้-การแสดงออก (Learning-performance distinction)
ความแตกต่างในการเรียนรู้-แสดงออก หมายถึงการเรียนรู้เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้น แต่อาจจะไม่ได้ถูกวัดค่าหรือเห็นได้ชัดเจนทันทีจากการแสดงออก ซึ่งอาจมีการแสดงให้เห็น (Demonstrate) ในเด็กเล็ก บ่อยครั้งทำให้ผู้ปกครองตนเองขายหน้า (Embarrassed)
ตัวอย่างเช่น เด็กเล็กอาจได้ยินอย่างบังเอิญ (Over-hear) คำหยาบคาย (Dirty word) แต่ยังไม่พูดซ้ำ (Repeat) ออกมาจนกว่าจะอยู่ในที่สาธารณะ แสดงให้เห็นว่าเด็กเรียนรู้คำหยาบเหล่านั้นแล้วจากการสังเกต แต่รอเพื่อเลียนแบบภายหน้า
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Albert Bandura - https://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Bandura [2020, December 12].