จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 295: การเรียนรู้โดยการสังเกต (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 6 ธันวาคม 2563
- Tweet
การทดลอง (Experiment) มากมายในทางจิตวิทยากลายเป็นแบบฉบับ (Classic) เพราะเป็นการทดลองรุ่นแรกๆ ที่แสดง (Demonstrate) ให้เห็นถึงหลักการที่สำคัญบางอย่าง หนึ่งในการทดลองนั้น แสดงถึงการวางเงื่อนไข (Conditioning) ของการตอบสนองทางอารมณ์ (Emotional response) ตาที่เคยนำเสนอในเรื่อง ”หนูน้อยอัลเบิร์ด” (Little Albert)
การทดลองแบบฉบับของนักจิตวิทยาอื่น ได้แก่ อัลเบิร์ต แบนดูร่า (Albert Bandura) และเพื่อนร่วมทีม (Colleague) ของเขาที่แสดงให้เห็นว่าเด็กเรียนรู้พฤติกรรมที่ก้าวร้าว (Aggressive behavior) จากการดูพฤติกรรมที่ก้าวร้าวจากผู้ใหญ่ การเรียนรู้จากการเฝ้ามอง (Watching) คือการเรียนรู้ด้วยการสังเกต (Observational learning)
การเรียนรู้ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้แบบปัญญานิยม (Cognitive learning) เหตุผลหนึ่งของนับว่าการศึกษาตุ๊กตาล้มลุก (Bobo doll) เป็นการทดลองที่แบบฉบับ เพราะมันท้าทาย (Challenge) ความคิดก่อนๆ ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากทั้งการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical) และแบบการลงมือกระทำ (Operant)
เด็กเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวง่ายๆ จากการเฝ้ามอง ดังโครงการทดลองต่อไปนี้ ในส่วนหนึ่งของห้องเด็กอนุบาล (Pre-school) ที่มีส่วนร่วม (Involved) ในโครงการศิลปะ (Art project) เด็กได้เห็นส่วนอื่นของห้องที่มีผู้ใหญ่ลุกยืนขึ้นแล้ว เตะ, ตี, ตะโกน (Yell) ใส่ตุ๊กตาล้มลุกที่เป่าลมพองออกแล้ว (Inflated) ว่า “ตีมัน, ต่อยมัน, และเตะมัน!”
เด็กบางคนได้ดูตัวอย่างจากผู้ใหญ่กลุ่มนั้นในขณะที่เด็กอีกกลุ่มไม่ได้ดู ในเวลาต่อมาเด็กที่ถูกทดลองทั้งสองกลุ่มอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่เบาๆ สบายๆ (Mildly-frustrating situation) ได้ถูกนำไปอยู่ในห้องที่มีของเล่นรวมถึงตุ๊กตาล้มลุก โดยที่เด็กไม่รู้ว่า นักวิจัยได้สังเกตพฤติกรรมพวกเขาอยู่
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเด็กที่ได้ดูพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ใหญ่ได้เริ่มตี, เตะ, และตะโกนใส่ตุ๊กตาว่า “ตีมัน, ต่อยมัน, และเตะมัน!” ผ่านการเรียนรู้โดยการสังเกตเพียงอย่างเดียว ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ได้เรียนรู้พฤติกรรมก้าวร้าวและตอนนี้ได้แสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมา
ในการเปรียบเทียบ (Comparison) เด็กกลุ่มที่ไม่ได้ดูพฤติกรรมก้าวร้าว ก็ไม่ได้แสดงพฤติกรรมเหล่านี้ ภายใต้สถานการณ์ที่เบาๆ สบายๆ
แบนดูร่า สรุปว่าเด็กพวกนี้เรียนรู้พฤติกรรมก้าวร้าวที่เฉพาะ (Specific) ไม่ได้มาจากการแสดงออก (Perform) หรือมีการเสริมแรง (Reinforce) แต่เกิดขึ้นโดยง่ายจากการเฝ้ามองสด (Live) จากตัวอย่างที่แสดงให้เห็น
การเรียนรู้โดยการสังเกตบางครั้งถูกเรียกว่า การเอาแบบอย่าง (Modeling) เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับการเฝ้ามองตัวอย่างและนำมาเลียนแบบ (Imitating) ในภายหลัง
สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ของการศึกษาโดยใช้ตุ๊กตาล้มลุก คือเด็กอาจจะเรียนรู้โดยการสังเกต แต่ไม่ทำตามพฤติกรรมที่ตนเองเห็น เป็นตัวอย่างของความแตกต่างในการเรียนรู้-การแสดงออก (Learning-performance distinction)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Albert Bandura - https://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Bandura [2020, December 5].