จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 293: การเรียนรู้ทางปัญญานิยม (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 22 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
การเรียนรู้ทางปัญญานิยม (Cognitive learning) เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิต (Mental process) เช่นการใช้สมาธิ (Attention) และความจำ (Memory) สิ่งนี้อาจจะเรียนรู้ผ่านการสังเกต (Observation) หรือการเลียนแบบ (Imitation) และไม่เกี่ยวโยงกับรางวัลภายนอก (External reward) หรือจำเป็นต้องมีคนมาแสดงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
อย่างไรก็ตามความสนใจในการเรียนรู้ทางปัญญานิยมเกิดขึ้นอีกครั้ง (Re-born) ในปีคริสต์ทศวรรษ 1996s และกลายเป็นที่โด่งดังในปีคริสต์ทศวรรษที่ 1990s
รากฐานของปัญญานิยมสามารถ “แกะรอย” ย้อนหลังกลับไปที่ผลงานของ วูนด์ (Wundt) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1800s และนักจิตวิทยา เอดเวิร์ด โทแมน (Edward Tolman) ในปีคริสต์ทศวรรษ 1930s
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับเรียนรู้ทางปัญญานิยมมีความโด่งดังในการอธิบายพฤติกรรมของทั้งสัตว์และคน เช่นเดียวกับการพัฒนาสาขา (Area) ใหม่ ที่มีชื่อว่า วิทยาศาสตร์การรู้คิด (Cognitive neuro-science)
8 วันก่อนที่สกินเนอร์ (B. F. Skinner) เสียชีวิต เขาได้รับเกียรติยศจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ซึ่งออกหนังสืออ้างอิงฉบับแรกสำหรับผลงานโดดเด่นตลอดชีวิตของเขาที่สร้างให้กับวงการจิตวิทยา (First Citation for Outstanding Lifetime to Psychology) ในงานที่เขารับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ แก่เพื่อนและเพื่อนร่วมงาน (Colleagues) มากกว่า 1,000 คน
สกินเนอร์พูดเรื่องการแตกแขนง (Split) ของจิตวิทยาระหว่างคนที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้สึกและกระบวนการรับรู้ และคนที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ เช่นสัตว์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อม ว่าแตกต่างกันอย่างไร
ในการวิจารณ์ที่ดุเดือด (Sharp criticism) เกี่ยวกับเรียนรู้ทางปัญญานิยม (Cognitive learning) สกินเนอร์กล่าวว่า “ในความคิดของผม ปัญญานิยม คือการเนรมิตใหม่ (Creationism) ทางจิตวิทยาที่จะนำไปสู่การล่มสลาย (Downfall) [ของจิตวิทยา]”
การวิจารณ์ที่รุนแรง (Severe) ของเขาเกี่ยวกับ กระบวนการการรับรู้ (Cognitive process), ความคิด, และเหตุการณ์ทางจิต ส่งผลให้หลายคนผู้ฟังในที่ประชุม (Audience) ถึงกับอ้าปากค้าง (Gasp) และมีคนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่ปรบมือให้ (Applaud)
ในปีคริสต์ทศวรรษ 1950s และ 1960s บทบาทหลัก (Major role) ของสกินเนอร์คือการมุ่งเน้น (Focus) เป้าหมายหลัก (Primary goal) ทางจิตวิทยา ในการศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้มากกว่ากระบวนการการรับรู้
อย่างไรก็ตาม ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980s นักจิตวิทยาค้นพบว่ากิจกรรมของคนไม่สามารถเข้าใจหรือหรืออธิบายได้จากการสังเกตพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการการรับรู้ และความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional feeling) กลายเป็นเป้าหมายหลักของจิตวิทยา
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- The Benefits of Cognitive Learning https://gradepowerlearning.com/benefits-of-cognitive-learning/ [2020, November 21].