จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 292: แนวคิดการวางเงื่อนไขแบบอื่น (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 15 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
สิ่งกระตุ้นที่มีลักษณะการแยกแยะ (Discriminative stimulus) เป็นการบอกเป็นนัย (Cue) ถึงพฤติกรรมที่จะได้รับการเสริมแรง (Reinforced)
ถ้าลองให้ความสนใจไปที่ครูฝึก เราจะรู้ล่วงหน้าว่าถึงสิ่งเร้าที่มีลักษณะแยกแยะ เช่นสัญญานมือ (Hand signal) หรือการผิวปาก (Whistle) ใช้เพื่อส่งสัญญานให้สัตว์รู้ว่าพฤติกรรมต่อไปจะได้รับการเสริมแรง
เด็กเล็กเรียนรู้ลักษณะการแยกแยะระหว่างสิ่งเร้าเมื่อพ่อแม่เสริมแรงด้วยการกล่าวว่า “พ่อ” (Daddy) ต่อหน้าพ่อที่แท้จริงของเขา แต่จะไม่ได้รับการเสริมแรง เมื่อเด็กไปเรียกคนแปลกหน้า (Stranger) ว่า “พ่อ”
แม้หลังจากการถ่ายทำจบลง หมีบาร์ตยังคงแสดงพฤติกรรมที่เรียนรู้มาไปสักพัก อย่างไรก็ตาม หลังเวลาผ่านไปเมื่อพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้รับการเสริมแรง มันก็ค่อยๆ ลดลง (Gradually diminished) และยุติ (Ceased) นี่คือตัวอย่างของลักษณะการสูญสิ้นไป (Extinction)
ในการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) การสูญสิ้นไป หมายถึงการลดลงในการตอบสนองการกระทำเมื่อไม่มีสิ่งเสริมแรงตามมา ในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค การสูญสิ้นไปหมายถึงการลดลง (Reduction) ในการตอบสนองเมื่อสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข ไม่ได้ตามมาด้วยสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned stimulus) หลังจากผ่านการสูญสิ้นไป หมีบาร์ตอาจจะแสดงการฟื้นฟูกลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Spontaneous recovery)
ในการวางเงื่อนไขกระทำ การเรียนรู้การฟื้นฟูโดยธรรมชาติ หมายถึงการฟื้นฟูชั่วคราว (Temporary) ในอัตราของการตอบสนอง ในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) การเรียนรู้การฟื้นฟูโดยธรรมชาติหมายถึงการเกิดขึ้น (Occurrence) ชั่วคราวของการตอบสนองอย่างมีเงื่อนไขของการปรากฏ (Presence) ของสิ่งเร้าที่มีของเงื่อนไข
ปรากฎการณ์ทั้ง 4 กล่าวคือ ลักษณะทั่วไป (Generalization), ลักษณะแยกแยะ, ลักษณะการสูญสิ้นไป, และลักษณะการฟื้นฟูโดยธรรมชาติ เกิดขึ้นทั้งในการวางเงื่อนไขการกระทำและการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ลักษณะเฉพาะหนึ่งที่เด่นชัดของการวางเงื่อนไขการกระทำก็คือบ่อยครั้งจะมีการตอบสนองที่สังเกตเห็นได้ (Observable response) และสิ่งเสริมแรงที่สังเกตเห็นได้ (Observable reinforcer) อันดับต่อไป เราจะกลับไปพูดถึงการเรียนรู้ผ่านปัญญานิยม (Cognitive learning) ซึ่งอาจไม่มีการตอบสนองที่สังเกตเห็นได้ หรือไม่มีสิ่งเสริมแรงที่สังเกตเห็นได้
แจ๊ค (Jack) เด็กวัยหัดเดิน (Toddler) รักการดูสื่อโทรทัศน์ช่องที่เกี่ยวกับกอล์ฟ ในวัย 13 เดือน เขาเลียนแบบ (Imitate) สิ่งที่เขาเห็นแล้วใช้ไม้พลาสติก (Plastic cub) เพื่อตีลูก Wiffle (ลูกบอลที่มีรูรอบด้านคล้ายลูกกอล์ฟ) ในห้องนั่งเล่น (Living room) ของครอบครัว
เขาไม่ได้เรียนรู้การใช้ไม้กอล์ฟผ่านการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant Conditioning) หรือแบบคลาสสิค (Classical) แต่เรียนรู้ผ่านปัญญานิยม
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, November 14].