จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 289: ตารางการเสริมแรง (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 25 ตุลาคม 2563
- Tweet
การบันทึกสะสม (Cumulative record) แสดงถึงการตอบสนองที่ต่อเนื่อง (On-going) และสิ่งเสริมแรงที่คร่อมเวลา (Across time) ซึ่งมีผลกระทบอย่างมาก (Greatly) ต่อพฤติกรรม ซึ่งเป็นตารางการเสริมแรง (Schedule of reinforcement)
เคยสังเกตบ้างไหมว่า ทุกครั้งที่เปิดประตูหน้าบ้าน สุนัขข้างคุณเอง จะส่งเสียงอย่างเป็นมิตรที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่เมื่อไหร่ที่ไปร้านกาแฟทั่วไป จะพบว่ากาแฟโปรดของคุณอาจมีเพียง 2 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์
เหตุการณ์ที่กล่าวข้างต้นนี้แสดงภาพประกอบของ 2 สิ่งทั่วไปของตารางการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง (Continuous) และแบบบางส่วน (Partial)
การได้รับการทักทายอย่างเป็นมิตรจากสุนัขของตนเองทุกครั้งหรือทุกวันที่เดินผ่านประตูหน้าบ้าน สุนัขของคุณได้ให้ตารางการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง
สรุปแล้ว สิ่งเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง หมายถึง ทุกๆ ครั้งที่เกิดการวางเงื่อนไขการกระทำ จะส่ง (Delivery) ผลลัพธ์ของสิ่งเสริมแรงเสมอ
ในโลกความเป็นจริงพฤติกรรมส่วนน้อยค่อนข้างเป็นตารางการเสริมแรงแบบต่อเนื่อง เพราะว่าเพียงคนหรือสิ่งของจำนวนน้อย ที่คนเราจะเชื่อถือได้เท่ากับสุนัของตนเอง
บ่อยครั้งที่ตารางการเสริมแรงแบบต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ใช้ในขั้นแรก (Initial) ของการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) เพราะมันให้ผลลัพธ์ในการเรียนรู้ที่รวดเร็วของพฤติกรรมบางอย่าง
การที่พบว่ากาแฟรสโปรดของตัวเองมีเพียง 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์ แม้ว่าคุณภาวนาอยากให้มีเกือบทุกวัน กล่าวคือ ร้านกาแฟเป็นผู้กำหนดตารางแบบบางส่วนให้คุณ
สรุปแล้ว สิ่งเสริมแรงบางส่วน หมายถึงสถานการณ์ที่การตอบสนองได้รับการเสริมแรงเพียงบางเวลาเท่านั้น ไม่ใช่ทุกครั้งที่คุณปรารถนา
ในโลกความเป็นจริง พฤติกรรมหลายอย่างของคนอยู่บนตารางการเสริมแรงแบบบางส่วน ซึ่งมีประสิทธิผลที่สูงมากในการคงสภาพพฤติกรรมนั้นในระยะยาว ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเราเดินไปที่ร้านกาแฟ เพื่อหวังว่าวันนี้ทางร้านจะมีกาแฟรสโปรดของคุณ
การวิเคราะห์ของสกินเนอร์ ในเรื่องตารางการเสริมแรง สามารถนำไปประยุกต์ในทางปฏิบัติ (Practical application) ใช้ได้หลายแบบด้วยกัน สัปดาห์ต่อไปเราจะมาพูดคุยถึง 4 หลักของตารางสิ่งเสริมแรงแบบบางส่วน แล้วจะแสดงให้เห็นความแตกต่างของทั้ง 4 หลัก ว่ามีผลต่อพฤติกรรมของคนอย่างไร
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, September 24].