จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 288: ตารางการเสริมแรง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-288

      

วันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1971 นิตยาสารไทม์ (Time Magazine) รับรู้ถึงอิทธิพลและความสำเร็จของ บี เอฟ สกินเนอร์ (B. F. Skinner) ในทางจิตวิทยา (Psychology) และการศึกษา (Education) โดยเอารูปเขาขึ้นปกนิตยาสาร

1 ปีก่อนหน้านั้น วารสาร “นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน” (American Psychologist) ซึ่งเป็นสิ่งตีพิมพ์อย่างเป็นทางการของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยกย่องว่า ความสามารถของสกินเนอร์เป็นรองแค่ ฟรอยด์ (Freud) ในเรื่องอิทธิพลต่อจิตวิทยาของศตวรรษที่ 20

ทุกคนรู้จักสกินเนอร์จากการที่เขาค้นพบเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) และผลพวง (Consequence) หรือสิ่งเสริมแรง (Reinforcement) มีผลต่อพฤติกรรมอย่างไร

สกินเนอร์ได้พัฒนาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ พฤติกรรมส่วนบุคคลของสัตว์และคน ส่วนหนึ่งของวิธีการของเขาคือการศึกษาผลพวงหรือสิ่งเสริมแรงที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมได้อย่างไร แล้วนำไปสู่การศึกษาตารางการเสริมแรง (Schedules of reinforcement)

ตารางดังดล่าวเป็นโปรแกรมหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนด (Determine) ว่า เมื่อไรและอย่างไร ที่การเกิดขึ้น (Occurrence) ของการตอบสนอง (Response) จะตามมาด้วยสิ่งเสริมแรง

สกินเนอร์บ่งชี้ตัวอย่างมากมายที่เกี่ยวกับตารางการเสริมแรงว่ามันสามารถทั้งคงสภาพและควบคุมพฤติกรรมอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นคนเล่นตู้หยอดเหรียญพนัน มักไม่รู้ว่าพวกเขาต้องจ่ายเยอะจึงจะได้ผลตอบแทนเยอะ ตามตารางการเสริมแรงที่ส่งเสริมการตอบสนองที่รวดเร็ว

เหมือนกับบางโรงงานที่จ่ายเงินให้พนักงานตามจำนวนชิ้นที่ผลิตได้ อันเป็นกำหนดการเสริมแรง ที่มีผลลัพธ์ที่มั่นคงและมีผลงานที่รวดเร็ว

สกินเนอร์สามารถศึกษาความแตกต่างของตารางการเสริมแรงว่าส่งผลต่อพฤติกรรมได้อย่างไร เพราะเขาพัฒนาวิธีการอันชาญฉลาดที่จะบันทึก (Record) พฤติกรรมส่วนบุคลที่ต่อเนื่อง วิธีการของเขาคลอบคุมถึงการใช้งานสิ่งที่ตอนนี้คนมากมายรู้จักในชื่อของ กล่องสกินเนอร์ (Skinner box) และบางอย่างที่เรียกว่าการบันทึกสะสม (Cumulative)

ในกล่องสกินเนอร์ เมื่อไหร่ที่หนูไม่ยอมกดที่แถบราว (Bar) ปากกาจะวาดเส้นตรงบนม้วนของกระดาษยาว แล้วผ่อนช้าๆ จนต่อเนื่องไปถึงฝั่งซ้าย เมื่อไหร่ที่หนูกดแถบราว ปากกาจะวาดเป็นเส้นหยัก (Notch) ขึ้น เมื่อไหร่ที่หนูมีการตอบสนองมากมาย (Numerous) ปากกาจะขยับหยักขึ้นหลายครั้งเพื่อจะวาดเส้นที่คล้าย (Resemble) เป็นขั้นบันได (Stairway) ขึ้น

ถ้าหนูกดแถบอย่างช้าๆ ปากกาจะค่อยๆ ขยับหยักขึ้น ส่งผลในความชันที่นุ่มนวล (Gentler slop) ถ้าหนูมีการตอบสนองที่รวดเร็ว ปากกาจะหยักขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลในความชันที่ลึกขึ้น (Steeper slope) ตำแหน่ง (Blip) ที่ลง (Downward) บ่งชี้ว่าหนูได้รับอาหารเม็ด (Food pallet) หรือสิ่งเสริมแรง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, September 17].