จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 286: การเสริมแรงและบทลงโทษ (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 4 ตุลาคม 2563
- Tweet
บางครั้งเราทำพฤติกรรม (Behavior) ซ้ำๆ เพราะผลพวง (Consequence) ในการตัดสินเรื่องดังต่อไปนี้แสดงว่าอาหารเป็นสิ่งเสริมแรงหลัก (Primary reinforcer) และผลพวงของคูปอง (Coupon) เป็นสิ่งเสริมแรงรอง (Secondary reinforcer)
สิ่งเสริมแรงหลัก และสิ่งเสริมแรงรองสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มเวลาเรียนหนังสือ ถ้าคุณบังคับให้ตัวเองอ่านหนังสือ 2 ชั่วโมงก่อนที่จะมอบรางวัลให้ตัวเองเป็นแฮมเบอร์เกอร์ คุณกำลังใช้อาหารเป็นสิ่งเสริมแรงหลัก
สิ่งเสริมแรงหลัก เป็นสิ่งเร้า (Stimulus) เช่นอาหาร, น้ำ, หรือการมีเพศสัมพันธ์ (Sex) เป็นความน่าพึงพอใจที่เกิดขึ้นมาแต่กำเนิด (Innately satisfying) และไม่จำเป็นต้องผ่านประสบการณ์หรือเรียนรู้ในเรื่อง (Subject) เหล่านี้เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ (Pleasurable)
แม้แฮมเบอร์เกอร์ จะเป็นสิ่งเสริมแรงหลักสำหรับการขยันเรียน แต่พวกเราถูกเสริมแรงบ่อยครั้งจากสิ่งอื่นๆ (ที่มิใช่อาหาร, น้ำ, หรือการมีเพศสัมพันธ์) ด้วย
คนขับรถโรงเรียนจะให้คูปองกับเด็กเพื่อไปแลกพิซซ่า (Pizza) ถ้าเด็กพวกนั้นยอมนั่งเงียบสงบบนรถ คูปองเป็นตัวอย่างของสิ่งเสริมแรงรอง กล่าวคือสิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งเร้าที่มีพลังเสริมแรงหากเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์หรือกาเรียนรู้นั่นเอง
สรุปแล้ว สิ่งเสริมแรงรองเป็นสิ่งเร้าที่เราได้แสวงมา (Acquire) ด้วยพลังเสริมแรง (Reinforcing power) ผ่านประสบการณ์ ยกตัวอย่างเช่น การจับคู่สิ่งเสริมแรงรองกับสิ่งเสริมแรงหลัก หรือสิ่งเสริมแรงรองกับสิ่งเสริมแรงอื่นๆ
คูปอง, เงิน, คะแนนสอบ (Grade), และคำชม (Praise) เป็นตัวอย่างของสิ่งเสริมแรงรองเพราะคุณค่า (Value) ของพวกมันได้มาจากการเรียนรู้
ยกตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนรู้ว่าคูปองมีคุณค่า ตั้งแต่ที่เขาสามารถนำไปแลก (Redeem) พิซซ่า คูปองกลายเป็นสิ่งสริมแรงรองที่ให้กำลังใจเด็กเพื่อเลือกที่นั่งเร็วขึ้นและนั่งเงียบๆ เพื่อคนขับรถจะได้ออกเดินทาง (Get rolling) ภายในเวลาเพียง 5 นาที
พฤติกรรมหลายอย่างได้เพิ่มขึ้นหรือคงสภาพเดิม (Maintain) โดยสิ่งเสริมแรงรอง แต่สิ่งที่ไม่เหมือนสิ่งเสริมแรงหลักและรอง ซึ่งมีผลพวงที่เพิ่มพฤติกรรม ก็คือก็คือการลงโทษ (Punishment) ซึ่งให้ผลที่ต่างออกไป
มันจะเป็นประโยชน์มาก ถ้าเราจำแนกระหว่างบทลงโทษทางบวกและทางลบ บทลงโทษทางบวกนำมาซึ่ง (Present) สิ่งเร้าไม่ชอบ (Aversive) หรือไม่รื่นรมย์ (Unpleasant) หลังการตอบสนอง (Response) ยกตัวอย่างเช่นตบตี (Spanking) หลังจากการตอบสนอง สิ่งเร้าที่ไม่รื่นรมย์จะลด (Decrease) โอกาสของการตอบสนองที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง (Recur)
ส่วนการลงโทษทางลบ หมายถึงการเอาสิ่งเร้าที่เป็นสิ่งเสริมแรงออกไป (เช่น ค่าขนมของเด็ก [Child’s allowance]) หลังจากการตอบสนอง การเอาออก (Removal) นี้จะลด (Decrease) โอกาสที่การตอบสนองจะเกิดขึ้นอีก
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, October 3].