จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 281: การวางเงื่อนไขการกระทำ (6)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-281

      

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องยากที่พ่อแม่พบก็คือ เมื่อลูกของตนกินแค่อาหารโปรด (Favorite) 1 – 2 อย่างและปฏิเสธ (Refuse) ที่จะกินอาหารอย่างอื่น

เด็กอายุน้อยบางคนที่ไม่มีปัญหาทางการแพทย์ ได้มีการพัฒนานิสัยการกินแค่อาหารบางประเภท และจะไม่ยอมกินอาหารชนิดอื่น อันส่งผลให้เกิดสุขภาพการกินที่ไม่แข็งแรง หรือมีน้ำหนัก (Weight) ต่ำกว่าเกณฑ์ นักวิจัย (Researcher) สอนพ่อแม่ถึงการนำหลักการการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) เพื่อพิชิตการไม่ยอมกินอาหารที่พวกเด็กไม่ชอบได้อย่างไร

เริ่มจากขั้นตอนแรก

1. พฤติกรรมเป้าหมาย (Target Behavior) – จุดมุ่งหมายคือการให้ลูกของตนได้ชิม (Taste), เคี้ยว (Chew), และกิน (โดยเฉพาะผักและผลไม้) อาหารที่พวกลูกๆ ของพวกเขาไม่เคยยอมกิน

2. การเตรียมตัว (Preparation) – นักวิจัยได้เริ่มจากการแสดงให้คุณแม่ถึงวิธีการก่อร่าง (Shape) และการเสริมแรง (Reinforce) พฤติกรรมเป้าหมาย โดยต่อไปคุณแม่ทุกคนก่อร่าง (Shaping) พฤติกรรมเป้าหมายในตัวลูกของพวกเขาในบริบท (Setting) แบบบ้านๆ

3. การเสริมแรง – ทุกครั้งที่ลูกของตนได้แสดงหรือทำให้เกิดพฤติกรรมเป้าหมาย คุณแม่ต้องให้การเสริมแรงทันทีโดยเป็นการสนับสนุนทางบวก เช่นชม (Praise), ให้ความสนใจ (Attention), หรือยิ้ม (Smile)

4. การก่อร่าง – เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่คุณแม่ต้องคำนึง (Considering) ว่า ลูกควรรับรู้ถึงอาหาร โดยป้อนที่ปากของลูกเพื่อให้ลูก ได้รับรู้รสชาติอาหาร และสุดท้ายเพื่อให้ลูกได้เคี้ยวและกลืน (Swallowed) อาหารนั้นลงไป

ในระหว่าง 4 ขั้นตอน คุณแม่จะให้อาหารที่ลูกไม่ชอบกิน (Non-preferred) แก่ลูกของเขา ซึ่งจะปฏิเสธทุกครั้ง และในระหว่างขั้นตอนที่ 4 คุณแม่จะก่อร่างให้ลูกยอมรับ (Accept) อาหารที่ลูกไม่ยอมกิน โดยการ ชม, ให้ความสนใจ, และยิ้มให้ลูกของเขาทุกครั้งที่ลูกตอบสนอง (Response) ที่ใกล้เคียง (Approximated) พฤติกรรมเป้าหมาย (กล่าวคือการเคี้ยวและกลืนอาหาร) การก่อร่างพิสูจน์ให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพิชิต (Overcome) นิสัยไม่ยอมกินอาหาร

สังเกตว่าหลักการเดียวกันของการวางเงื่อนไขการกระทำได้ถูกนำมาใช้ไม่ว่าเป้าหมายคือวางเงื่อนไขให้เด็กใช้ห้องน้ำเอง หรือเพื่อพิชิตการไม่ยอมกินอาหารที่เด็กไม่ชอบหรือสอนหมีบาร์ต (Bart) เพื่อให้อุ้มตุ๊กตาหมี (Teddy Bear)

สกินเนอร์ (Skinner) เป็นนักประพันธ์ ผู้มีผลงานมากมาย (Prolific) โดยได้ตีพิมพ์ (Published) หนังสือ 21เล่ม บทความวิชาการ 180 บท เขาได้จินตนาการการประยุกต์ใช้ความคิดของเขาในการออกแบบสังคมมนุษย์ (Human community) ในนวนิยาย (Novel) ซึ่งกล่าวถึงดินแดนที่มีสภาพสมบูรณ์ (Utopia) และการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักจิตวิทยาที่ทรงอิทธิพล (Influential) มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, August 29].
  3. B. F. Skinner - https://en.wikipedia.org/wiki/B._F._Skinner[2020, August 29].