จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 277: การวางเงื่อนไขการกระทำ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 2 สิงหาคม 2563
- Tweet
การค้นพบของอี แอล ทอร์นไดค์ (E. L. Thorndike) มีนัยสำคัญ เพราะเขาเสนอแนะว่า กฎแห่งผล (Law of effect) เป็นพื้นฐานของกฎแห่งการเรียนรู้ (Law of learning) และให้ขั้นตอนเที่ยงตรง (Objective procedure) ในการศึกษาเรื่องนี้ ทอร์นไดค์เน้น (Emphasis) ได้ผลลัพธ์ของพฤติกรรมที่พุ่งไปยังเป้าหมาย (Goal-directed behavior) ซึ่งได้รับการพัฒนาและขยายความในเวลาต่อมาโดย บี อี สกินเนอร์ (B. E. Skinner)
สกินเนอร์เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน โดยเป็นทั้งนักพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorist), นักประพันธ์ (Author), นักประดิษฐ์ (Inventor), และนักปรัชญาสังคม (Social philosopher) เขาเป็นเจ้าของทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement) ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ตามมาของกระทำก่อนหน้านี้ ผลลัพธ์ของการกระทำที่ไม่ดี จะมีโอกาสสูงที่จะไม่กระทำอีก แต่ถ้าผลลัพธ์ของการกระทำดี จะมีโอกาสูงที่จะกระทำซ้ำ
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930s ในห้องทดลอง (Laboratory) ของสกินเนอร์ เขาสนใจในการวิเคราะห์ (Analyzing) พฤติกรรมต่อเนื่องของสัตว์ สกินเนอร์อธิบายว่ากฎแห่งผล (Law of effect) ของทอร์นไดค์มีประโยชน์ เนื่องจากมันอธิบายว่าสัตว์ได้รับรางวัลอย่างไรสำหรับการตอบสนองบางอย่าง อย่างไรก็ตามเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เขาจำเป็นต้องมีวิธีที่เที่ยงตรงในการวัด (Measure) คำตอบ (Solution) อันชาญฉลาดของสกินเนอร์ เป็นหน่วยของพฤติกรรมที่เขาเรียกว่า การตอบสนองการกระทำ (Operant response)
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่า เจ้าหมีบาร์ต (Bart) เกิดความสนใจ (Curiosity) ที่จะหยิบตุ๊กตาหมีขึ้นมา ซึ่งเป็นตัวอย่างของการตอบสนองการกระทำ เพราะว่าบาร์ตแสดงหรือกระทำตามสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่มันหยิบตุ๊กตาขึ้นมา ก็คือมันจะได้รับแอปเปิ้ล อันเป็นผลที่พึงประสงค์ (Desirable) ผลลัพธ์นี้ดัดแปลง (Modify) การตอบสนองของมันโดยเพิ่มโอกาสที่บาร์ต จะตอบสนองแบบเดิม
ในการวัดหรือการเก็บข้อมูล (Record) การตอบสนองการกระทำ สกินเนอร์สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมต่อเนื่องของสัตว์ระหว่างเรียนรู้ เขาเรียกการเรียนรู้นี้ว่า การวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) ซึ่งเจาะจงว่าผลลัพธ์ [รางวัลหรือบทลงโทษ (Reward or punishment)] ส่งผลต่อพฤติกรรมอย่างไร
ตัวอย่างง่ายๆ ของการวางเงื่อนไขการกระทำ เกิดขึ้นเมื่อหนูที่อยู่ในกล่องทดลอง (Experimental box) กดแถบราว (Bar) โดยบังเอิญ (Accidentally) แล้วตามมาด้วยอาหาร ผลลัพธ์นี้จะเพิ่มโอกาสให้หนูกดแถบราวอีกครั้ง ในขณะที่หนูกดแถบราวมากขึ้น อาหารก็จะตามมามากขึ้น ในการใช้ขั้นตอนพัฒนาใหม่ของการวางเงื่อนไขการกระทำ สกินเนอร์ใช้เวลาอีก 50 ปีต่อมา ในการสำรวจและวิเคราะห์การเรียนรู้ในหนู, นกพิราบ (Pigeons), เด็กนักเรียน (School children), และผู้ใหญ่ (Adults)
ปีคริสต์ทศวรรษ 1920s และ 1930s เขย่าการเรียนรู้ครั้งใหญ่ (Mighty jolt) จากการค้นพบของ 2 หลักการทั่วไป อันได้แก่ การวางเงื่อนไขคลาสสิค (Classical conditioning) ของพัฟลอฟ (Palov) และเงื่อนไขการกระทำของสกินเนอร์ นี่เป็นครั้งแรกที่นักจิตวิทยา (Psychologists) มี 2 แนวทาง ในการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ (Learning process) อย่างเที่ยงตรง
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, August 1].
- B. F. Skinner - https://en.wikipedia.org/wiki/B._F._Skinner[2020, August 1].