จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 275: การเรียนรู้เงื่อนไขการกระทำ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 19 กรกฎาคม 2563
- Tweet
ในการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) กระบวนการการเรียนรู้จะเปิดออก โดยบาร์ต (Bart) แสดงการตอบสนองที่สังเกตได้ [Observable response (กล่าวคือ อุ้มตุ๊กตาหมี)] ซึ่งตามด้วยผลลัพธ์ (Consequence) ที่สังเกตได้ (กล่าวคือ ได้รับแอปเปิ้ล)
แต่ยังมีอีกประเภทหนึ่งของการเรียนรู้ที่รวมถึงกระบวนการทางจิต (Mental) ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้และรางวัล (Reward) ที่คุณอาจจะให้ตัวเองซึ่งอาจไม่สังเกตเห็นได้
ประเภทของการเรียนรู้นี้เรียกว่า การเรียนรู้เชิงปัญญานิยม (Cognitive learning) อันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แจ๊ค (Jack) เรียนรู้ว่ากอล์ฟ (Golf) เล่นกันอย่างไร ตามที่พ่อแม่ของเขาเล่าให้ฟัง แจ๊คเริ่มดูช่องโทรทัศน์เกี่ยวกับกอล์ฟตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัยหัดเดิน (Toddler) และเมื่อเขาอายุได้เพียง 13 เดือน แจ๊คก็เลียนแบบ (Imitate) นักกอล์ฟที่เขาเคยดูบนจอโทรทัศน์
แจ๊คจะเอาไม้กอล์ฟพลาสติกอันเล็กแล้วตี ลูกบอลพลาสติกกลวงที่มีรู (Wiffle* ball) ในห้องนั่งเล่น บางครั้ง เขาก็ปาบอลไปกระทบวัตถุอื่นเพื่อให้เด้งไปโดนหัวของพ่อเขา
แม้ว่าตอนนี้แจ๊คอายุได้ 3 ขวบ เขาก็ยังคงเด็กเกินไปที่จะเล่นในสนามกอล์ฟจริง เขารักการฝึกซ้อมที่สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (Range) แล้วมักร้องไห้บ่อยครั้งเมื่อถึงเวลาต้องกลับบ้าน อันที่จริง เด็ก 3 ขวบคนนี้สูงเพียง 94 เซนติเมตรเมื่อยืนขึ้น แต่เขาก็สามารถตีลูกกอล์ฟไกลถึง 70 หลา (Yards) และพัต (Putt) กอล์ฟ ได้ถึง 4.6 เมตร
พ่อของแจ๊คเป็นมิได้เป็นนักกีฬากอล์ฟอย่างเป็นทางการ (Casual) และรู้สึกแปลกใจเมื่อเห็นลูกเริ่มสนใจอย่างจริงจัง (Keen interest) ในเรื่องกอล์ฟ ซึ่งเป็นเพียงบางสิ่งที่เขาเห็นจากช่องกอล์ฟในโทรทัศน์เท่านั้น
อันที่จริง มันเป็นความคิดริเริ่ม (Initiative) ของแจ๊คเองโดยไม่มีการให้กำลังใจพิเศษใดๆ (Encouragement) หรือการชี้แนะจากผู้ปกครอง เด็กน้อยเพียงเลียนแบบจากสิ่งที่เขาเห็นบนจอโทรทัศน์
กระบวนการ (Process) ที่แจ๊คใช้ในการเรียนรู้กอล์ฟแตกต่างจากขั้นตอน (Procedure) การวางเงื่อนไขการกระทำที่ใช้ในการสอนพฤติกรรมใหม่ให้บาร์ต
ในระหว่างการวางเงื่อนไขการกระทำ บาร์ตได้แสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้ (กล่าวคืออุ้มตุ๊กตา) อันมีอิทธิพลจากผลลัพธ์ที่สังเกตได้ (กล่าวคือได้รับแอปเปิ้ล) ในการเปรียบเทียบ แจ๊คเรียนรู้ที่จะเหวี่ยง (Swing) ไม้กอล์ฟผ่านการสังเกตและการเลียนแบบ ซึ่งเกี่ยวโยงกับขั้นตอนทางจิตใจที่ไม่สามารถสังเกตได้ โดยเรียกกันว่า การเรียนรู้เชิงปัญญานิยม
ปัจจุบันการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) ได้ถูกนำมาใช้ในบริบท (Setting) ที่แตกต่างกันมากมายเช่น ฝึก (Train) สัตว์เพื่อใช้แสดง, ฝึกเด็กให้ใช้โถส้วม (Potty), ช่วยหยุดเด็กปัญญาอ่อนไม่ให้ทำร้าย (Injuring) ตัวเอง, และช่วยเด็กออทิสติกส์ (Autistic) ให้เรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, July 18].