จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 269: เงื่อนไขของการกลัวและอาการคลื่นไส้ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-269

      

ตัวอย่างเช่น หลังจากผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉีดยาเข็มที่ 4 ประมาณ 60% - 70% ที่เข้ารับเคมีบำบัด มักจะมีอาการคลื่นไส้เมื่อเขาได้กลิ่น, เสียง, เห็น (Sight), หรือภาพ (Image) ที่เกี่ยวกับเคมีบำบัด หลังจาก 1 - 2 ปี ที่การรักษาจบลงแล้วอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยมะเร็งง ก็ยังคงมีอยู่ เมื่อเขาเผชิญ (Encounter) กับอะไรที่เกี่ยวกับเคมีบำบัด

หลังจากที่มิเชล (Michelle) ได้เริ่มเข้ารับการรักษาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ผ่านมาเพียงไม่กี่สัปดาห์เธอเริ่มประสบ (Experience) กับอาการคลื่นไส้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ซึ่งถูกกระตุ้น (Trigger) โดยสิ่งเร้า (Stimuli) ต่างๆ เช่นกลิ่นน้ำยาล้างจาน (Dish detergent) ของเธอที่มีกลิ่นคล้ายกับห้องตรวจ (Treatment room) เคมีบำบัด อันทำให้เธอมีอาการคลื่นไส้ (Nausea) ทุกครั้งเมื่อเธอได้กลิ่นมัน ตอนนี้เรารู้ถึงสถานการณ์ที่ทำให้มิเชลมีอาการคลื่นไส้

ต่อไปเราจะมาอธิบายว่าการถูกวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

เริ่มจากสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral stimulus) ในตัวมิเชล คือกลิ่นที่เธอได้สัมผัสในห้องตรวจเคมีบำบัด และกลิ่นน้ำยาล้างจานของเธอ ซึ่งก่อนหน้าที่เธอจะเริ่มรับเคมีบำบัด เธอไม่มีอาการคลื่นไส้ใดๆ กับกลิ่นนี้ ต่อมาสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned stimulus) ในตัวมิเชล คือเคมีบำบัดที่จะทำให้เธอแสดงอาการคลื่นไส้และอาเจียนออกมา และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned response) ของเธอ คืออาการคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดขึ้นจากการที่เธอทำเคมีบำบัด อันเป็นสิ่งกระตุ้นที่ไม่มีเงื่อนไข

เงื่อนไขการทดลอง (Conditioning trials) ในตัวมิเชลรวมไปถึงสิ่งที่แสดงจากสิ่งเร้าที่เป็นกลาง คือกลิ่นของห้องตรวจ (คล้ายกับกลิ่นน้ำยาล้างจานของเธอ) กับสิ่งกระตุ้นที่ไม่มีเงื่อนไขคือเคมีบำบัดสุดท้ายสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนอง (Condition stimulus) ในตัวมิเชล คือการได้กลิ่นห้องตรวจหรือกลิ่นน้ำยาล้างจานของเธอเอง เมื่อสิ่งเร้านี้ได้แสดงออกมา ก็จะทำให้เกิดการตอบสนองที่มีเงื่อนไขในตัวเธอ ซึ่งกรณีนี้คืออาการคลื่นไส้

เมื่อไรที่เกิด (Establish) อาการคลื่นไส้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ จะเป็นเรื่องยากมากที่จะใช้การรักษา (Treat) หรือการควบคุม (Control) ด้วยยา (Drug) ต่อให้การทำเคมีบำบัดจบลงไป อาการคลื่นไส้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ก็จะยังคงกลับมาปรากฏขึ้นอีก (Reappear) สักพัก ซึ่งเป็นตัวอย่างของการฟื้นคืนสภาพทันที (Spontaneous recovery)

อย่างไรก็ตาม ยังมีการรักษาที่ใช้ยา (Nonmedical treatment) เกี่ยวกับอาการคลื่นไส้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค การรักษานี้เรียกว่า การบรรเทาความรู้สึกอย่างเป็นระบบ (Systematic desensitization) ซึ่งจะนำมาอธิบายในตอนต่อไป

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, June 6].