จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 268: เงื่อนไขของการกลัวและอาการคลื่นไส้ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-268

      

ประสบการณ์ในวัยเด็ก (Childhood experience) ของเราครั้งหนึ่ง อาจเคยเป็นลม (Fainting) ตอนฉีดยา (Injection) ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) ในตัวเรา ที่ได้ส่งผลต่อความกลัวเข็มที่ยังคงอยู่ในตัวเราจนถึงทุกวันนี้

ในประสบการณ์ครั้งนั้นบ่งบอกว่าเงื่อนไขการตอบสนองทางอารมณ์ (Conditioned emotional response) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพฤติกรรม (Behavior) ของคนเรา ถ้ายังสงสัยว่าสิ่งเร้าที่ไม่คุกคาม (Nonthreatening stimuli) เช่น เข็ม (Needle) และเลือด (Blood) สามารถสร้างเงื่อนไข (Conditioned) ที่จะแสดง (Elicit) การตอบสนอง ทางจิตวิทยาเช่นการเป็นลมได้อย่างไร เราจะมาอธิบายให้เข้าใจในตอนนี้

มีรายงาน (Report) ว่าประมาณ 10%-20% ของผู้ใหญ่มีอาการกลัวเข็ม, การฉีดยา, และกลัวการเห็นเลือด เลยมีการตั้งคำถามว่าทำไมถึงมีอาการอยากเป็นลมเมื่อเห็นเลือด นักวิจัยได้ขอให้ผู้คนที่เข้ามาทดลอง (Subject) จำนวน 30 คนได้ดูหนังเกี่ยวกับการผ่าตัดเปิดหัวใจ (Open heart surgery)

ในขณะผู้ที่เข้าทดลองกำลังดูหนัง ก็ได้มีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ในขณะที่หนังกำลังฉายคนจำนวน 4 คนจากจำนวน 30 คน ได้เกิดเป็นลมขึ้นหลังจากหนังฉายได้ 4 นาที นักวิจัยยกตัวอย่างคนแรกเริ่มแสดงอาการกลัวและเครียด (Stress)

ต่อมาร่างกายของเขาเข้าสู่ภาวะช็อคเล็กน้อย (Mild shock) และเขาก็ได้เป็นลมลงไป สาเหตุที่ผู้ชายคนนี้เป็นลมเพราะว่าการดูหนังเกี่ยวกับการผ่าตัดหัวใจทำให้เกิดการพัฒนาของเงื่อนไขการตอบสนองทางอารมณ์เป็นความกลัวที่รุนแรง (Intense) เมื่อเขาเห็นเลือด

ความกลัวที่รุนแรงนี้ได้กระตุ้น (Trigger) อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต (Blood pressure) ของเขาอย่างรุนแรง ซึ่งต่อมาส่งผลการเปลี่ยนแปลงทางสภาพจิตของเขา เลยทำให้มีอาการเป็นลม การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคยังสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้จากการเรียนรู้ (Anticipatory nausea) เมื่อได้กลิ่น (Odor) อะไรบางอย่างที่รุนแรง

ต่อไปจะเป็นเรื่องของ มิเชล (Michelle) ซึ่งเป็นผู้หญิงที่เข้ารับเคมีบำบัด (Chemotherapy treatment) เพราะเธอเป็นมะเร็งเต้านม (Breast cancer) ผลข้างเคียง (Side effect) ที่รุนแรงจากยาต้านมะเร็ง (Anti-cancer drug) คืออาการคลื่นไส้ซึ่งจะทำให้เธอมีการอาเจียน (Vomiting) นานถึง 6 – 12 ชั่วโมง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, May 30].