จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 267: การวางเงื่อนไขต่างวัฒนธรรม (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 24 พฤษภาคม 2563
- Tweet
วันนี้เราจะมาพูดคุยกันว่าอาการกลัวทันตแพทย์ (Dental Fear) จะถูกพัฒนา (Develop) ในตัวคนเราได้อย่างไรและสามารถส่งผลกระทบแก่เราอย่างไร มีรายงาน (Report) ว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันและชาวเอเชียมีอัตราการกลัวทันตแพทย์ที่สูงมาก ต่อมาได้มีการตั้งคำถามว่าผู้ใหญ่พวกนี้ได้เริ่มกลัวทันตแพทย์ตั้งแต่ตอนไหน
ประมาณ 66% ตอบว่าพวกเขากลัวทันตแพทย์จากประสบการณ์ (Experience) ในวัยเด็กหรือวัยรุ่น (Adolescence) ซึ่งเกิดจากการเข้ารับการรักษาอาการฟันอักเสบฉุกเฉิน (Dental emergency) กลุ่มผู้ใหญ่นี้กล่าวว่ายิ่งเขาเจ็บปวด (Painful) ขณะเข้ารับการรักษาฟัน (Dental treatment) ในวัยเด็กมากเท่าไหร่ อาการกลัวต่อทันตแพทย์ที่เขามียิ่งมากขึ้นเท่านั้น
นักวิจัย (Researchers) ได้สรุปว่าส่วนใหญ่ของอาการกลัวทันตแพทย์จะเกิดขึ้นมากจากประสบการณ์ในวัยเด็กและวัยรุ่นซึ่งบ่อยครั้งเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) นอกจากนั้น อาการกลัวทันตแพทย์ยังฝังอยู่ในตัวบุคคลจนไม่กล้าเข้ารับการรักษาฟันในอนาคต ยกเว้นเมื่อมีปัญหาที่จำเป็น (Necessary) เท่านั้น
ในขณะที่ความกลัวที่มีต่อทันตแพทย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาในผู้คนบางกลุ่ม ประมาณ 20%-40% ของชาวญี่ปุ่น (32%), ชาวอังกฤษ (40%), และชาวอเมริกัน (21%) ได้เลือกที่จะหลีกเลี่ยง (Avoid) การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ (Regular check-up) โดยเขาจะรอเข้าพบทันตแพทย์แค่ตอนที่มีปัญหาฉุกเฉิน (Emergency problem) เท่านั้น อันส่งผลให้เกิดขั้นตอน (Procedure) การรักษาที่เจ็บปวด ซึ่งเป็นสาเหตที่เพิ่มระดับความกลัวทันตแพทย์ให้มีมากขึ้น ตามมาถึงการหลีกเลี่ยงการเข้าพบทันตแพทย์และจะเข้าพบต่อเมื่อมีปัญหาฉุกเฉินเท่านั้น อันเป็นวงจรอุบาทว์ (Vicious circle)
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เรารู้ว่าวิธีที่จะลด (Reduce) ระดับอาการกลัวทันตแพทย์คือต้องหมั่นไปตรวจสุขภาพฟัน เพื่อให้ตัวบุคคลรับรู้ว่าการตรวจฟันนั้นง่ายและไม่เจ็บปวดเพื่อที่จะช่วยลบล้าง (Extinguish) เงื่อนไขการตอบสนองทางอารมณ์ (Conditioned emotional response) ของตัวบุคคลนั้นๆ ที่มีต่อทันตแพทย์
นักวิจัยสรุปว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cultural differences) เช่น ชนิด (Kind) และความบ่อย (Frequently) ที่เข้าพบทันตแพทย์ในวัยเด็กหรือวัยรุ่นส่งผลกระทบถึงการรับรู้ในวัยเด็กของอาการเจ็บปวดและการเกิดขึ้น (Occurrence) ของเงื่อนไขการตอบสนองทางอารมณ์ (ในกรณีนี้เราหมายถึงอาการกลัวทันตแพทย์)
ต่อไปเราจะมาตรวจสอบอีกชนิดหนึ่งของการรักษา กล่าวคือการเคมีบำบัด (Chemotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง (Cancer) ที่เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาน่ากลัว (Terrible) ต่างๆ และรวมถึงเงื่อนไขกระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้ (Nausea)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, May 23].