จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 265: งานวิจัยเงื่อนไขแบบคลาสสิค (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 10 พฤษภาคม 2563
- Tweet
ลำดับต่อไป เราจะมาดูการทดลองที่วัตสัน (Watson) ใช้กับหนูน้อยแอลเบิร์ต (Albert)
ในตอนที่แอลเบิร์ตอายุ 11 เดือน นักวิจัยได้มีการปฏิบัติกับเขาแบบซ้ำๆ อันประกอบด้วยสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Natural stimulus) ซึ่งก็คือ หนูสีขาวและตามด้วยสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned stimulus) ซึ่งก็คือเสียงดัง ในช่วงแรกๆ แอลเบิร์ตแค่มองหนูตัวนั้นด้วยความตกใจ (Startled) แต่พอต่อมาเรื่อยๆ เด็กน้อยคนนี้ก็เริ่มร้องให้
ครั้งแรกที่นำหนูมาวางให้แอลเบิร์ตเห็นโดยไม่มีเสียง (No noise) เขาก็เริ่มที่จะแสดงความตกใจ ต่อมา พอทำซ้ำบ่อยๆ และทดสอบใหม่ (Retest) กับหนูตัวเดิมโดยไม่มีเสียง เด็กน้อยคนนี้ก็เริ่มร้องให้ซึ่งสรุปได้ว่าการทดลองนี้สำเร็จเพราะการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) ในตัวแอลเบิร์ตทำให้เขามีการตอบสนองทางอารมณ์ (Emotional response) คือความกลัว
วัตสันกับเรย์เนอร์ (Rayner) ได้พิสูจน์ว่ามีการพัฒนาทางเงื่อนไขทางอารมณ์ในตัวหนูน้อยแอลเบิร์ตโดยแสดงอาการตกใจและร้องให้เมื่อแอลเบิร์ตเห็นหนูสีขาวซึ่งอาการนี้เป็นไปเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์และค่อยๆ ลดลง (Diminish) จนหายไป หรือสูญสิ้นไป (Extinction)
หลังจากที่แอลเบิร์ตได้ถูกวางเงื่อนไขเพื่อให้กลัวหนูสีขาว มีการทดสอบให้เขาได้เห็นวัตถุอื่น เพื่อทดสอบ”การแผ่ขยายผล” (Generalization) ซึ่งเมื่อเขาเจออะไรที่คล้ายกันอาการของเขาก็จะแสดงออกมา ยกตัวอย่างเช่นเขาคลานหนี (Crawl) และเริ่มร้องให้เมื่อเขาเห็นกระต่าย และแอลเบิร์ตยังหันหน้าหนีและร้องให้เมื่อเขาเห็นเสื้อขนสัตว์ (Fur coat) แต่แอลเบิร์ตไม่มีอาการใดๆ เมื่อเขาเห็นหินบล็อก, กระดาษ, หรือผมฟูๆ บนศีรษะ ของวัตสัน ซึ่งบ่งชี้ว่าแอลเบิร์ตรู้จักการแยกแยะ (Discrimination)
เงื่อนไขของแอลเบิร์ตที่ถูกทดลองโดยวัตสันเป็นการสาธิต (Demonstration) มากกว่าการทดลอง (Experiment) แบบควบคุมอย่างเข้มงวด (Rigorously controlled) ยกตัวอย่างเช่นวัตสัน กับเรย์เนอร์ไม่ได้ใช้ขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน (Standardized procedure) ในการทดลองสิ่งเร้าต่างๆ (Stimuli) ซึ่งในบางครั้งเขาก็ได้เอานิ้วโป้งที่หนูน้อยแอลเบิร์ตกำลังอมอยู่ออกจากปากหนูน้อย และนี่ก็ทำให้เด็กคนนี้ร้องให้ก่อนที่ หนูน้อยจะออกจากโรงพยาบาล วัตสันถูกวิพากษ์วิจารณ์ (Criticized) เกี่ยวกับการมิได้ถอนการวางเงื่อนไขในตัวแอลเบิร์ตเกี่ยวกับอาการกลัว
ในขณะเดียวกันนักวิจัยอื่นหลายคนล้มเหลวที่จะลอกเลียนผลลัพธ์ของวัตสันกับเรย์เนอร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สามารถสาธิตได้ว่า การตอบสนองทางอารมณ์สามารถถูกวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้ในตัวมนุษย์ ซึ่งการอธิบายครั้งนี้ของวัตสันได้วางรากฐาน (Groundwork) ที่สามารถตอบคำถามได้ว่าคนเรียนรู้ถึงกลัวแมงมุมอย่างไร
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, May 9].
- John B. Watson - https://en.wikipedia.org/wiki/John_B._Watson [2020, May 9].