จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 264: งานวิจัยเงื่อนไขแบบคลาสสิค (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 3 พฤษภาคม 2563
- Tweet
ทำไมการเห็นสัตว์ตัวเล็กๆ ที่มีหลายขาและดูไม่น่ามีอันตรายใดๆ สามารถสร้างความกลัวอย่างรุนแรงให้กับมนุษย์หลายๆ คนได้ สาเหตุเพราะ คนกลุ่มนั้น ได้พัฒนาเงื่อนไขของการตอบสนองทางอารมณ์ (Emotional response) ที่มีต่อแมงมุม อันสามารถเกิดขึ้นได้จาก “การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค” (Classical conditioning) ซึ่งจะอยู่กับเราเป็นเวลานานและจะส่งผลกระทบถึงความกลัวที่รุนแรงและความกลัวที่ไม่มีเหตุผล
อย่างไรก็ตามในคริสต์ทศวรรษ 1920s นักจิตวิทยาไม่รู้ว่า เราสามารถวางเงื่อนไขการตอบสนองทางอารมณ์ แต่พัฟลอฟ (Pavlov) ได้ค้นพบเรื่องของการสะท้อนสภาพของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
จอห์น วัตสัน (John Watson) ได้ตระหนักว่าเขาควรที่มีวิธีปฏิบัติ (Procedure) ที่จะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางอารมณ์โดยอาศัยความจริง (Objective) จอห์น วัตสัน คือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งเน้นการศึกษาการสังเกตพฤติกรรมและการปฏิเสธเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจิตใจที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ (Unobservable)
วัตสันตั้งคำถามถึงบทบาท (Role) ในการพัฒนาการตอบสนองทางอารมณ์ในเด็ก ในการตอบคำถามนี้ วัตสันพยายามวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของการตอบสนองทางอารมณ์ ในเด็ก
เด็กทดลอง (Subject) 9 เดือนคนนี้คือหนูน้อยแอลเบิร์ต (Little Albert) ซึ่งเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่หวั่นไหวอะไรง่ายๆ และยังดูไร้อารมณ์ (Unemotional) เนื่องจากไม่เคยมีใครเคยเห็นเขาแสดงอารมณ์โกรธ (Rage) หรืออาการกลัว แล้วเด็กคนนี้ก็ยังไม่เคยร้องไห้อีกด้วย
วัตสันได้ให้แอลเบิร์ตเผชิญ (Confront) กับนานาอย่างวัตถุต่อเนื่อง (Succession of objects) อันได้แก่ หนูสีขาว 1 ตัว, กระต่าย 1 ตัว, และสุนัข 1 ตัว แต่เด็กน้อยคนนี้ก็ไม่เคยแสดงความกลัวในสถานการณ์ (Situation) ใดๆ
นักวิจัยได้ไปยืนอยู่ข้างหลังของแอลเบิร์ตแล้วได้ใช้ค้อนตีลงไปที่แท่งเหล็กเพื่อให้เกิดเสียงดัง ทำให้แอลเบิร์ตแสดงอาการร้องไห้ออกมา ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่หนุ่มน้อยแอลเบิร์ตได้แสดงอาการทางอารมณ์และความกลัวในห้องทดลอง (Laboratory)
หลังจากที่แอลเบิร์ตตกใจ (Startle) และร้องไห้ นักวิจัยก็ได้ทำการการสังเกตและวัดระดับของการตอบสนองทางอารมณ์ในตัวแอลเบิร์ต ซึ่งบ่งชี้ว่าเด็กน้อยคนนี้มีความรู้สึกและมีการแสดงความกลัว
หลังจากที่วัตสันได้เข้าใจเกี่ยวกับ 3 สิ่งเกี่ยวกับเงื่อนไขแบบคลาสสิคเขาและผู้ช่วยของเขาที่ชื่อว่าเรย์เนอร์ (Rayner) ก็ได้เริ่มเตรียมวางแผนการทดลองเรื่องการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, May 2].
- John B. Watson - https://en.wikipedia.org/wiki/John_B._Watson [2020, May 2].