จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 263: ประยุกต์ใช้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (4)
- โดย ปานชนก แก้วจินดา
- 26 เมษายน 2563
- Tweet
อันดับต่อไปเราจะมาพูดถึงแนวคิดด้านการรับรู้ (Cognitive Perspective) โดยเฉพาะการตอบคำถามว่า เสียงจากกระดิ่งทำให้คาดเดาว่าจะมีอาหารมารึเปล่า?
เป็นเรื่องน่าประหลาดใจสำหรับนักวิจัยหลายๆ คน โดยเฉพาะ โรเบิร์ต เรสคอร์ล่า (Robert Rescola) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องกระบวนการรับรู้ (Cognitive processes) ในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค โดยมุ่งเน้น (Focus) ไปยังเรื่องของการเรียนรู้และพฤติกรรมของสัตว์และมนุษย์
เขาได้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral stimulus) กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus) ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า 2 อย่างเข้ามาพร้อมกันในระยะเวลากันใกล้
ในทางตรงกันข้าม เขากลับพบว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioned) จะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่เป็นกลาง มีข้อมูลว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป เขาเรียกความคิดนี้ว่า แนวคิดด้านการรับรู้
ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีแนวคิดด้านการรับรู้นั้น อธิบายว่าเราเกิดอาการน้ำลายไหล (Salivate) จากการมองเห็นพิซซ่าเพราะเราเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ที่คาดเดาได้นั่นเอง การมองเห็นพิซซ่า (สิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข [Conditioned stimulus]) มักจะนำไปสู่การรับประทาน (สิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข) และการคาดเดานั้นทำให้เกิดอาการน้ำลายไหล (การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข [Conditioned Response])
ข้อสนับสนุนแนวคิดด้านการรับรู้ มาจากของการค้นพบจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค จะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (ในที่นี้คือเสียง ([Tone]) เกิดก่อนที่สิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (ในที่นี้คืออาหาร ([Food]) ในลำดับแบบนี้ สิ่งมีชีวิตจะเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าทั้ง 2 อย่าง กล่าวคือ เสียงทำให้คิดถึงอาหาร
อย่างไรก็ตาม ถ้าลำดับนี้กลับกัน (Reverse) คือสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข เกิดขึ้นก่อนสิ่งเร้าที่เป็นกลาง สิ่งนี้จะถูกเรียกว่า การวางเงื่อนไขแบบย้อนกลับ (Backward conditioning) และไม่ค่อยแสดงผลนักในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
แนวคิดด้านการรับรู้ ยังสามารถอธิบายได้อีกว่า การวางเงื่อนไขแบบย้อนกลับ สามารถทำให้เกิดการคาดเดาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่เป็นกลางกับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข และไม่ค่อยแสดงผลนักในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ปัจจุบัน มีข้อสนับสนุนมากมาย (Widespread support) เกี่ยวกับแนวคิดด้านการรับรู้ ซึ่งกล่าวว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องการคาดเดาถึงความสัมพันธ์ (Predictable relationships) หรือสาเหตุและผลที่ตามมา (Cause and effects)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, April 25].
- Robert A. Rescorla - https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_A._Rescorla [2020, April 25].