จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 260: ประยุกต์ใช้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (1)
- โดย ปานชนก แก้วจินดา
- 5 เมษายน 2563
- Tweet
ปัญหาหนึ่งที่น่าขบคิดก็คือทำไมคนเราถึงกลัวเข็ม?
ในตอนแรกของบทความนี้ เราได้พูดถึงเรื่องน่าเศร้าสมัยเด็กเกี่ยวกับการถูกฉีดยา (Injection) ทำให้รู้สึกเจ็บปวดและกลัวจนเป็นลมไป (Fainted) แม้ว่าจะผ่านไป 50 ปีแล้วก็ตาม เราก็ยังกลัวการถูกฉีดยาด้วยเข็มฉีดยาและมักจะยอมแพ้เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นลม
อันที่จริง เราสามารถจำแนก (Identify) ส่วนประกอบของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioned) ได้ดังนี้
สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral stimulus) คือภาพของเข็มฉีดยา (Syringe), สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus) คือ การฉีดยา, และการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response) คือความเจ็บปวดและความกลัว หลังจากการฉีดยาที่แสนเจ็บปวด
สิ่งเร้าที่เคยเป็นกลาง (Formerly neutral stimulus) อย่างเข็มฉีดยา ก็จะกลายเป็นสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned stimulus) และทำให้เกิดการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response) ซึ่งก็คือความกลัว รวมถึงการเป็นลมด้วยนั่นเอง เพราะเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขของการตอบสนองด้วยอารมณ์ ความกลัวจากการถูกฉีดยาด้วยเข็มฉีดยาจึงถูกเรียกว่า การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไขทางอารมณ์ (Conditioned emotional response)
เงื่อนไขของการตอบสนองด้วยอารมณ์นั้นมีผลกับการเอาชีวิตรอด เช่นเดียวกับการเรียนรู้จากความกลัวและหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับตนเอง เช่นเสียงของงูหางกระดิ่ง (Rattle-snake) หรือเสียงของไซเรน (Siren) เงื่อนไขของการตอบสนองด้วยอารมณ์ยังเป็นสัญญาณของความสุข (Pleasant situation) ได้ด้วย
ยกตัวอย่างเช่น คู่รักหลายๆ คู่จะมีเพลงที่สื่อถึงความสัมพันธ์ของพวกเขา เมื่อได้ยินเพลงนี้ในตอนที่อยู่คนเดียว ก็จะแสดงอารมณ์โรแมนติก (Romantic) ออกมาอย่างแรงกล้า ดังนั้น ความหลากหลายของสิ่งเร้านี้สามารถเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่ดึงเอาความรู้สึกอันแรงกล้าออกมาเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ได้เช่นกัน
ต่อไปเราจะพูดถึงว่า ทำไมถึงใช้การกระพริบตา?
ปัญหาในการอ่านและเขียนเช่นการสะกดคำถอยหลัง (Reversing) หรือการข้ามตัวอักษรกับตัวเลข (Skipping) แสดงผล 1-2% ในเด็กวัยเรียน นี่เรียกว่า โรคความบกพร่องในการอ่าน หรือ โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) โรคนี้ยากที่จะวินิจฉัยในเด็กๆ ซึ่งยังไม่รู้แม้กระทั่งวิธีการอ่าน ดังนั้นเลยต้องมีการตรวจสอบที่ไม่ใช่การอ่าน (Nonreading test)
การทดสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, April 4].