จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 257: วางเงื่อนไขแบบอื่นๆ (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-257

      

คนกำจัดหนู (Rat Exterminator) มีความรู้โดยตรงเกี่ยวกับเราค่าที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Value) จากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) คนกำจัดหนูค้นพบว่าหนูบางตัวที่กินเหยื่อที่มีพิษ (Bait Poison) ไปจะตายลงและบางตัวก็แค่ป่วยเท่านั้น เมื่อหนูเริ่มป่วยจากเหยื่อทำนองนี้ พวกมันก็เริ่มเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยง (Avoid) การดมหรือกินเหยื่อนั้นเข้าไป

เรียกว่า การขยาดต่อเหยื่อ (Bait Shyness) และบางทีก็จะไม่กินเหยื่อนั้นเข้าไปอีกเลย

การเรียนรู้แบบนี้เป็นรูปแบบของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Condition) เรียกว่า การเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส (Taste-Aversion Learning) คุณค่าที่ปรับเปลี่ยนได้ของการเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรสของหนูนั้นชัดเจนอย่างมาก จากการเรียนรู้อย่างรวดเร็วในการหลีกเลี่ยงการดมหรือลิ้มรสเหยื่อพิษที่อาจทำให้เกิดการป่วย ทำให้พวกมันรอดชีวิตมาได้ (Survive)

ในบางช่วงเวลาของเรา เราจะได้ประสบพบเจอกับการเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรากินบางอย่างเข้าไปแล้วรู้สึกไม่ดีหลังจากขึ้นเครื่องเล่นหวาดเสียว (Thrill Ride) เราก็จะหลีกเลี่ยงการกินอาหารเหล่านั้นไปอีก คล้ายๆกับคนหลายๆ คนที่รู้สึกไม่ดีหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์มากไป (ส่วนใหญ่จะเกิดจากแอลกอฮอล์ที่มีรสหวานหรือเครื่องดื่มที่มีรสเฉพาะ)

พวกเขาก็จะหลีกเลี่ยงในการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ไปสักพัก การเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรสนี้ อาจสามารถเตือนเราจากการกินพืชที่มีพิษที่ทำให้เราป่วยหรือตายได้ด้วย จากตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมดของการเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส ได้แสดงให้เห็นคุณค่าที่ปรับเปลี่ยนได้ของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคซึ่งจะช่วยกันเราจากเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายกับเราได้ เช่นการขึ้นเครื่องเล่นหวาดเสียว, การดื่มน้ำเมาที่มากไป (Overdrinking), หรือการกินพืชที่มีพิษ (Poisonous Plant)

การเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส นี้สามารถพัฒนาขึ้นไปได้จากประสบการณ์เพียงครั้งเดียว ซึ่งบางทีอาจจะเกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว หรือแม้กระทั้ง 4 – 5 ปีที่แล้วก็ได้เช่นกัน การเรียนรู้แบบนี้เปลี่ยนความเชื่อเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เชื่อกันมานาน

ตลอดเวลาที่ผ่านมา นักจิตวิทยา (Psychologist) เชื่อว่าการขยาดต่อเหยื่อ (Bait Shyness) ไม่ได้เกิดจากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค นั่นเพราะจากหลายๆ การทดลอง การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผ่านการทดลองไปหลายๆ ครั้งแล้ว ไม่ใช่แค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

พวกเขายังเชื่ออีกว่า การที่การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคจะเกิดขึ้น หากได้รับสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) หรือก็คือการดมหรือลิ้มรสแล้ว จะต้องเกิดการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Response) ตามมาในระยะเวลาอันสั้นทันที (ในไม่กี่วินาทีหรือนาทีต่อมา) ซึ่งการค้นพบเหล่านี้เป็นสิ่งท้าทายนักจิตวิทยา จอห์น การ์เซีย (John Garcia) อย่างยิ่ง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, March 14].