จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 255: วางเงื่อนไขแบบอื่นๆ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-255

      

ประสบการณ์ของคาร์ล่าในห้องทำฟัน สถานที่ทำให้เธอเจอการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classically Conditioning) ซึ่งก็คือการที่รู้สึกกระวนกระวาย (Anxious) เมื่อได้กลิ่นครีมหลังโกนหนวด (Aftershave) แต่ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ (Interesting Feature) อื่นๆ อยู่อีก คาร์ล่าได้ค้นพบว่ากลิ่น (Odor) ที่มีความคล้ายกับครีมหลังโกนหนวดของหมอฟันนั้นทำให้เธอเกิดความรู้สึกกระสนกระวายเช่นกัน แต่เมื่อไม่เกิดกับกลิ่นอื่นๆ ความรู้สึกกระวนกระวายหลังจากที่เธอได้กลิ่นครีมหลังโกนหนวดของคนรักของเธอก็น้อยลง

แต่เมื่อกลับไปเจอหมอฟันและได้กลิ่นของครีมหลังโกนหนวดของเขาอีกครั้ง กลับถูกกระตุ้น (Trigger) ความรู้สึกกระวนกระวายให้กลับมา ปัฟลอฟ (Pavlov) ได้ค้นพบว่าปรากฏการณ์ (Phenomenon) แบบนี้เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) และเขาเรียกมันว่า (1) การแผ่ขยาย (Generalization), (2) การจำแนก (Discrimination), (3) การสูญเสียไป (Extinction), และ (4) การฟื้นคืนสภาพ (Spontaneous Recovery)

ในระหว่างการทดลอง (Trials) ของการวางเงื่อนไขของคาร์ล่า สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) ซึ่งก็คือกลิ่นจากครีมหลังโกนหนวด (Aftershave) ของหมอฟัน กลายมาเป็น สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus) ที่กระตุ้น (Elicit) ให้เกิดการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response) คือความรู้สึกกระวนกระวาย (Anxious)

อย่างไรก็ตาม คาร์ล่าก็อาจรู้สึกกระวนกระวายเมื่อได้กลิ่น (Odor) ที่คล้ายคลึง (Similar) กับครีมหลังโกนหนวดของหมอฟันได้เช่นกัน เช่น ยาสระผมของเธอ ปรากฏการณ์ แบบนี้เรียกว่า การแผ่ขยาย

ปัฟลอฟ (Pavlov) ได้เสนอว่าการแผ่ขยายนี้มีคุณค่าที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Value) เพราะมันทำให้เราเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าต้นแบบได้ ยกตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เคยเห็นใบหน้ายิ้มแย้มของเพื่อนคุณในสถานการณ์เดียวกัน แต่คุณก็มั่นใจว่าใบหน้าที่ยิ้มแย้มส่วนใหญ่แล้วจะกระตุ้นให้เกิดความคิดในแง่บวกเสมอ (Positive Feeling)

คาร์ล่าค้นพบว่ากลิ่นที่แตกต่างกับกลิ่นของครีมหลังโกนหนวดไม่ได้กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกระวนกระวาย (Anxious) ปรากฏการณ์แบบนี้เรียกว่า การจำแนก (Discrimination) ยกตัวอย่างเช่น คาร์ล่าได้เรียนรู้แล้วว่ากลิ่นของครีมโกนหนวดทำให้มองเห็นความเจ็บปวดที่เกิดจากการทำฟัน (Dental Procedure) แต่ทางตรงกันข้าม กลิ่นที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของยาทาเล็บ ไม่ได้ทำให้เห็นถึงความเจ็บปวดที่เกิดจากการทำฟันแต่อย่างใด เห็นเพียงแต่เล็บที่ดูสวยงามเท่านั้น

การจำแนก (Discrimination) นั้นก็มีคุณค่าที่ปรับตัวได้เช่นกัน เพราะมีหลายครั้งที่การตอบสนองนั้นแตกต่างกันไปตามสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้อง (Related Stimulus) ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจตอบสนองแตกต่างกัน เมื่อได้ยินเสียงไซเรนรถ ตำรวจ (Police Siren) หรือเสียงร้องของเด็ก (Baby’s Cry)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, February 29].