จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 247: ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-247

      

มิชเชล (Michelle) กำลังกังวลและกลัว ขณะที่นางพยาบาลกำลังเจาะเข็มลงไปที่เส้นเลือดบนแขนซ้ายของเธอและเปิดท่อ (Valve) เพื่อให้สารเคมีไหลเข้าสู่กระแสเลือด (Bloodstream) มิชเชลกำลังทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) เพื่อรักษาโรคมะเร็ง (Cancer) อยู่ ผลกระทบข้างเคียง (Side effect) จากการทำเคมีบำบัดนี้คืออาการคลื่นไส้รุนแรง (Nausea) ซึ่งมิชเชลต้องเผชิญกับมันอยู่ทุกครั้งหลังจากการบำบัด (Treatment)

สิ่งที่มิชเชลไม่ได้เตรียมใจมาเลยคือสิ่งอื่นๆ จะมากระตุ้น (Trigger) อาการคลื่นไส้รุนแรงของเธอได้อย่างไร อย่างเช่นครั้งหนึ่ง น้ำยาซักผ้าของเธอที่กลิ่น (Odor) เหมือนกับในห้องทำเคมีบำบัดทำให้เธอรู้สึกคลื่นไส้อย่างมาก เธอต้องเปลี่ยนยี่ห้อ ของน้ำยาซักผ้า (Detergent) เพราะมันทำให้เธอน้ำลายไหล (Salivate) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนแรกของอาการ คลื่นไส้นั่นเอง

ในตอนที่เธอไม่ได้รับรู้ (Aware) มิชเชลถูกครอบงำให้อยู่ในเงื่อนไข (Conditioned) ที่รู้สึกคลื่นไส้จาก สิ่งเร้าต่างๆ (Stimuli) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำเคมีบำบัดของเธออยู่ดี

ในกรณีของมิชเชล คาร์ล่า (Carla) ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเรา ถูกครอบงำให้อยู่ในเงื่อนไข (Conditioned) ที่รู้สึกกลัว ในสิ่งที่ดูเหมือนจะธรรมดา (Ordinary) มากๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาหลังโกนหนวด (Aftershave lotion) เข็ม หรือกลิ่นของน้ำยาซักผ้า เงื่อนไขเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเรียนชนิดหนึ่ง

การเรียนรู้แบบนี้ มักจะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปอย่างยาวนาน (Enduring) หรือถาวร (Permanent) เพราะผลจากประสบการณ์ในอดีตที่มาจากสิ่งเร้าหรือการตอบสนอง (Response) ต่อบางอย่าง

พฤติกรรมที่ว่านี้ รวมไปถึงเหตุการณ์ทางจิตที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ (Unobservable) เช่น ความคิด และ ภาพในหัว (Image) และการตอบสนองที่สามารถสังเกตเห็นได้อีกด้วย เช่น อาการวิงเวียน (Fainting), น้ำลายไหลออกจากปาก, และการอาเจียน (Vomit)

ใน 3 กรณีที่กล่าวไปนั้น เงื่อนไขส่งผลให้พฤติกรรมของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างยาวนาน ความจริงแล้ว เงื่อนไขดังกล่าว ก็กินเวลาไปเกือบ 50 ปีเลยทีเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเราแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่เรียกว่า การวางเงื่อนไข แบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ซึ่งเราจะมาคุยกันในบทความนี้

ในตอนแรก เราได้อ่านการเรียนรู้ทั้ง 3 แบบและรู้ถึงการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคแล้ว จากนี้ไปเราจะมาอธิบายว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนี้เกิดขึ้นมาและถูกทดสอบได้อย่างไร เราจะตอบสนองอย่างไร เมื่อเราอยู่ในเงื่อนไขนั้นๆ เราได้เรียนรู้อะไรจากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนี้ และเราสามารถใช้การวางเงื่อนไขนี้ในการรักษาได้อย่างไรเริ่มจากมาดูความแตกต่างของการเรียนรู้เหล่านี้กัน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, January 4].