จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 244: การบำบัดรักษาผู้เสพติด (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 ธันวาคม 2562
- Tweet
จุดมุ่งหมายที่ 3 – ให้โอกาสมาร์ตินปัน (Share) ประสบการณ์ในการบำบัดเป็นกลุ่ม (Group therapy) เพื่อจะให้มาร์ตินรับรู้ว่า เขามิได้ทนทุกข์ทรมานอยู่คนเดียว, เขาต้องวางแผนสำหรับอนาคต, และเขาอาจพบเพื่อนใหม่ที่ไม่เป็นผู้เสพติด เมื่อสิ้นสุด(และออกจาก) โปรแกรมแล้ว
จุดมุ่งหมายที่ 4 – ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญสุดที่ “ยิงตรงเป้า” (Heart of the problem) กล่าวคือ ช่วยมาร์ตินให้เผชิญกับ (และเอาชนะ) ปัจจัยความเสี่ยงสภาพแวดล้อม อันรวมทั้งปัญหาส่วนตัวและปัญหาสังคม อาทิ ความรู้สึกประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) และโรคซึมเศร้าที่ส่งผลให้ (Contributed) เขาเป็นผู้เสพติด
ในจุดมุ่งหมายที่ 4 อาจเป็นที่สงสัยกันว่า การบำบัดชนิดไหน ได้ประสิทธิผลมากที่สุดในการช่วยผู้เสพติด คำตอบหนึ่งมาจากการศึกษาที่ลงทุนไป 28 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 840 ล้านบาท) โดยใช้เวลา 8 ปี ในการเปรียบเทียบ 3 โปรแกรมที่มีวิธีบำบัดแตกต่างกัน
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมวิจัย 1,700 คน ได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ว่า ได้พึ่งพิงแอลกอฮอล์ (Alcohol-dependent) มาก กล่าวคือ ดื่มจัดทุกๆ วัน หรือ “คอทองแดง” (Alcohol binge) ที่ทำลาย (Disrupt) กิจกรรมที่บ้านและที่ทำงาน ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการมอบหมายโดยวิธีสุ่ม (Randomly assigned) ให้เข้าโปรแกรมบำบัดรักษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผ่าน 1 ใน 3 วิธี
วิธีแรกคือการบำบัดการรับรู้-พฤติกรรม (Cognitive-behavioral therapy) ซึ่งมุ่งเน้นในการช่วยเหลือผู้ป่วย ให้พัฒนาทักษะการควบคุมความคิดของตนเองเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ และเรียนรู้การควบคุมแรงขับ (Urge) ให้ดื่มแอลกอฮอล์
วิธีที่ 2 คือการบำบัดแรงจูงใจ (Motivational therapy) ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยจัดระเบียบ (Organize) และใช้สอย (Utilize) ทรัพยากรส่วนบุคคล โดยส่งเสริมให้เขามีความรับผิดชอบต่อการละเว้น (Abstain) จากการดื่ม
วิธีที่ 3 คือการบำบัด 12 ขั้นตอน (12-step therapy) ซึ่งใช้ในโปรแกรมแต่ดั้งเดิม (Traditional) ที่เรียกกันว่า “ขี้เหล้านิรนาม” (Alcohol Anonymous : AA) เป็นการ “ปลุกวิญญาณ” (Spiritual-awakening) นำทางไปสู่การฟื้นฟู (Recovery) นับเป็นวิธีการทางศาสนาคริสต์ที่¬ขอให้พระผู้เป็นเจ้าช่วยเหลือให้หลุดพ้นจาก “โรคร้าย” (Disease) นี้
เนื่องจาก 3 วิธีการนี้ เป็นตัวแทนของ 3 ปรัชญาที่แตกต่างกัน นักวิชาชีพจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า วิธีบำบัดหนึ่งอาจมีประสิทธิผลมากกว่าอีกวิธีบำบัดหนึ่ง
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- What Are My Addiction Treatment Options? https://www.addictioncenter.com/treatment/ [2019, December 14].