จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 241: การบำบัดรักษาผู้เสพติด (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-241

      

      ก่อนหน้านี้ เราพูดถึงความเสี่ยงจากยีน (Genetic) และสภาพแวดล้อม (Environment) ที่ทำให้ผู้เสพยาจนติด ลองสังเกตความเสี่ยงทางสภาพแวดล้อมในกรณีศึกษาต่อไปนี้ ที่ผลักดันให้มาร์ติน (Martin) กลายเป็นผู้ติดเหล้าเมายา (Alcoholic)

      ในโรงเรียนมัธยมศึกษา มาร์ตินเรียนเก่งได้คะแนนดี แต่รู้สึกไม่มั่นคง (Insecure) โดยเฉพาะเกี่ยวกับความสามารถทางเพศสัมพันธ์ (Sexual ability) ทางออก (Solution) ของเขาคือทำตัวเหมือน “ขี้เหล้าเมายา” (Hard-drinking) ที่หยาบกร้าน (Rugged) แต่แทนที่จะช่วย การดื่มจัดทำให้เขารู้สึกไม่มั่นคง ในความสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยเฉพาะทางเพศ

      เมื่อเขาเข้ามหาวิทยาลัย เขายังคงประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) ต่ำ และกลัวว่าผู้อื่นจะรู้ว่า เขาไม่มีความสามารถทางเพศสัมพันธ์เท่ากับที่เขาได้คุยโม้โอ้อวด (Bragging) เอาไว้ เขาฝังความกลัวของเขาในการดื่มจัดอย่างเมามัน ประมาณ 5 ถึง 10 แก้วในคืนวันหยุดสุดสัปดาห์

      แม้จะดื่มจัดยก (Bout) แล้วยกเล่า แต่ความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ (Knack of learning) ช่วยให้เขาสำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วยคะแนนดี จนสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ (Medical school) ได้ในเวลาต่อมา ช่วงรอยต่อระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนแพทย์ เขาได้งานทำเป็นคนขับรถบรรทุกเบียร์ ซึ่งมีสวัสดิการพนักงานที่จะได้เบียร์ฟรีทุกๆ คืนหลังเสร็จงาน อย่างน้อยครั้งละครึ่งโหล

      เมื่อเขาเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ มาร์ตินก็ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยที่เขาไม่กังวลการเสพติดของมึนเมาเลย เพราะเขาค้นพบว่า แอลกอฮอล์ทำให้เขารู้สึกพึงพอใจ (Content) ตนเอง และลดความรู้สึกเกลียดชังตนเอง (Self-loathing) และทำให้เขามีความรู้สึกทันที (Instantly) ของความมีคุณค่าในตนเอง (Self-worthy)

      แม้เขายังคงดื่มจัด แต่ความสามารถพิเศษ (Talent) ในตัวเขา ทำให้เขาเชี่ยวชาญ (Master) ในวิชาการ (Academic subjects) จนสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์ จากนั้นมาร์ตินไปตั้งรกราก (Settle) อยู่ในภาคตะวันตกกลาง (Mid-west) ของสหรัฐอเมริกา จนประสบความสำเร็จจากเปิดคลินิก แล้วแต่งงาน และมีครอบครัวในที่สุด

      อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว มาร์ตินยังคงดื่มจัดจนในไม่ช้า เขาก็ไม่อาจทำงานโดยปราศจากแอลกอฮอล์ ในเวลาเดียวกัน เขาก็เริ่มหมดสติ (Black-out) ภรรยาของเขาก็ไม่ยอมอดทนต่อการดื่มจัดของเขาอีกต่อไป จนนำลูกๆ หนีไปอยู่ที่อื่น ณ จุดนั้นของเวลา เขาเริ่มกินยาแก้ปวด (Pain-killer) โดยเขียนใบสั่งแพทย์ให้ตัวเอง หลังจาก 10 ปี มาร์ตินไม่สามารถหลุดพ้น (Escape) จากวงจรอุบาทก์ (Vicious cycle) ของความจำเป็นต้องเสพยามากขึ้นเรื่อยๆ จนติดเป็นนิสัย (Feed addiction)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. What Are My Addiction Treatment Options? https://www.addictioncenter.com/treatment/[2019, November 23].