จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 239: การป้องกันการเสพติด (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 10 พฤศจิกายน 2562
- Tweet
ถ้าบุคคลใดเริ่มเสพยาผิดกฎหมายตั้งแต่เยาว์วัย เขาจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเสพยาต่อเนื่อง, วิวัฒนาปัญหาในอนาคตที่สัมพันธ์กับยาเสพติด, หรือพบว่า จะยิ่งยากขึ้นในการหยุดยาดังกล่าว งานวิจัยชิ้นพบว่า เด็กอเมริกันระดับ 8 [เทียบเท่าเด็กไทยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2] ในช่วง 9 ปีจาก ค.ศ. 1991 ถึง 1999 ทวีการติดยา จาก 11% ถึง 28% กล่าวคือมากกว่า 2 เท่าตัว
รัฐบาลอเมริกันได้พัฒนาโปรแกรมชื่อ “กล้าหาญ” (DARE = Drug Abuse Resistance) ซึ่งหวังช่วยเยาวชน (Adolescents) อเมริกันให้ปฏิเสธการเสพยา บนพื้นฐานความคิดที่จะใช้อิทธิพลและบทบาทสังคมกีดกัน (Discourage) เยาวชนมิให้ริเริ่มเสพยา และสนับสนุน (Encourage) ให้เขาปฏิเสธ (Refuse) การเสพยาในอนาคต
โปรแกรมยอดนิยม (Popular) นี้ สอนในชั้นเรียนประถมปลาย/มัธยมต้น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบ (Uniform) เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1983 [ก่อนเริ่มงานวิจัยดังกล่าวข้างต้นเกือบ 10 ปี] ด้วยงบประมาณปีละ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21,000 ล้านบาท) โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอนเด็กนักเรียนไม่ต่ำกว่า 70% ของโรงเรียนรัฐทั่วประเทศ
แต่ก็มีคำถามว่า โปรแกรมยอดนิยม DARE ได้ประสิทธิผลจริงหรือ? ถ้าจริง ทำไมตัวเลขจากการวิจัยเกือบ 10 ปีให้หลัง จึงยังแสดงการติดยาที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว? แทนที่จะลดลงหรืออย่างน้อยก็ควรเสมอตัว จุดประสงค์หลักของงานวิจัยคือการประเมินผลการแทรกแซง (Intervention) ที่อ้าง (Claim) ว่า ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เสพติด
ทีมงานนักวิจัย ได้คัดเลือกโรงเรียนประถมศึกษา (Elementary school) จำนวน 36 แห่ง ในเขตตัวเมือง ชานเมือง และชนบท ในรัฐอิลลินอยส์ โดยศึกษาเป็นคู่โรงเรียน (Paired schools) เพื่อควบคุมความแตกต่างของชนหมู่น้อย (Ethnic) และระดับรายได้ (Income) ของพ่อแม่
นักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experiment) และได้รับการอบรมโปรแกรม DARE ในขณะที่นักเรียนในโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง ที่ได้รับการจับคู่ด้วย เป็นกลุ่มควบคุม โดยมิได้รับการอบรมโปรแกรม DARE มีนักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัยนี้ทั้งหมด 1,803 คน
ในการเริ่มการอบรม DARE นักเรียนได้รับการทดสอบก่อน (Pre-tested) เพื่อค้นหาทัศนคติต่อยาเสพติด และการเสพติดยา จากนั้นนักเรียนในกลุ่มทดลองเริ่มเข้ารับการอบรมโปรแกรม DARE เป็นเวลา 45 – 60 นาที ในชั้นเรียนที่สอนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบ ทันทีที่สิ้นสุดการอบรม รวมทั้ง 1, 2, และ 3 ปีให้หลัง เด็กนักเรียนจะเข้ารับการทดสอบอีกครั้ง (Re-tested) ในเรื่องทัศนคติต่อยาเสพติดและการเสพติด
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Substance abuse preventionhttps://en.wikipedia.org/wiki/Substance_abuse_prevention[2019, November 9].