จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 234: การดื่มแอลกอฮอล์ในต่างวัฒนธรรม (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 6 ตุลาคม 2562
- Tweet
คำถามที่น่าสนใจหนึ่งที่ใช้ได้กับสิ่งเสพติดทุกประเภทก็คือ ผู้ที่เสพปริมาณพอสมควร (Moderate) กับผู้ที่เสพปริมาณมากจนสร้างปัญหาร้ายแรงนั้นต่างกันมากน้อยแค่ไหน? ตัวอย่างเช่น ในจำนวนผู้ดื่มแอลกอฮอล์ชาวอเมริกัน 100 ล้านคน จะมีประมาณ 10 ล้านคน ที่ดื่มมากเกินไป (Excess) จนวิวัฒนาเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)
โรคพิษสุราเรื้อรัง เกี่ยวข้องกับการดื่มในปริมาณ 1 ลิตร เป็นเวลายาวนาน มักเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ผู้ดื่มเสพติด (Addict) มีความกระหายหนัก (Intense craving) และต้องพึ่งพิงแอลกอฮอล์เป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงกลุ่มอาการขาด (หรือถอน) ฉับพลันไม่ได้ (Withdrawal syndromes)
ผู้เสพแอลกอฮอล์ดังกล่าว ต้องดื่มติดต่อกันอย่างหยุดไม่ได้ จนเกิดปัญหาชีวิตร้ายแรง อาทิ ทอดทิ้ง (Neglect) หน้าที่ต่อครอบครัว งานการ หรือโรงเรียน มีอุบัติการณ์ (Incident) ทางกฎหมายหรืออาชญากรรม (Criminal) ครั้งแล้วครั้งเล่า และประสบปัญหาความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือสังคม
คำตอบหนึ่งว่า ทำไมผู้ดื่มเพียงบางคนเท่านั้นที่เสพติดจนกลายเป็นพิษสุราเรื้อรัง มาจากการศึกษานานาปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) อาทิ อิทธิพลทางสภาพแวดล้อม/จิตวิทยา และพันธุกรรม (Genetic) แต่ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อย นั่นคือ อิทธิพลทางวัฒนาธรรม (Cultural)
หลังการดื่มแอลกอฮอล์แก้วแรก บางคนอาจสนองตอบ (Respond) ด้วยใบหน้าแดงก่ำทันที (Sudden reddening) นี่เป็นปฏิกิริยา (Reaction) ที่เรียกว่า “ล้างหน้า” (Facial flashing) อันมีสาเหตุจากการขาด (Absence) เอ็นไซม์ [โปรตีนที่ควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีในร่างกาย] ตับ (Liver enzyme) ที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ (Metabolize) แอลกอฮอล์
หน้าแดงก่ำจากดื่มแอลกอฮอล์ เป็นลักษณะพันธุกรรม (Genetic trait) และไม่ค่อยเกิด (Occur) ในฝรั่งผิวขาว (White Caucasian) แต่เกิดขึ้น 30 ถึง 50% ในชาวเอเชีย อาทิ ชาวไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะดื่มน้อยกว่า และมีอัตราต่ำกว่าจากการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เมื่อเปรียบเทียบกับชาวอื่นๆ อาทิ เกาหลี การค้นพบเหล่านี้แสดงว่า หน้าแดงก่ำดังกล่าวเกิดขึ้นในต่างวัฒนธรรม เป็นปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมที่มีอิทธิพลต่อโอกาสของการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
อันที่จริงวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จะมีค่านิยม (Value) และแรงกดดัน (Pressure) ที่อาจส่งเสริมหรือกีดกันการดื่มจนเสพติด (Abuse) ดังการค้นพบของนักวิจัยที่ศึกษาผู้ใหญ่ 48,000 คนใน 6 วัฒนธรรมที่ตอบคำถาม 2 ข้อ (1) อัตราการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังต่างกันในต่างวัฒนธรรมหรือไม่? และ (2) ค่านิยมวัฒนธรรมอะไรที่มีอิทธิพลเหนืออัตราการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง?
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Alcohol - https://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol [2019, October 5].