จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 233: แอลกอฮอล์ (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-233

      

      เด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสภาพแวดล้อม เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขามีแนวโน้ม (Tendency) ที่จะลอกเลียน (Imitate) พฤติกรรมของพ่อแม่ขี้เมา (Alcoholic) แล้วเสพติด (Abuse) แอลกอฮอล์ เมื่อเผชิญกับความลำบากส่วนตัว, สังคม, ความเครียด (Stressful) หรือเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ (Work-related)

      อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงทางสภาพแวดล้อม ในการเสพติดแอลกอฮอล์และวิวัฒนาโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) แล้ว ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม (Generic) ซึ่งเป็นแนวโน้ม (Disposition) ที่ได้รับมรดกตกทอด (Inherited) อันจะเพิ่มโอกาสของการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

      ตัวอย่างเช่น ถ้าคู่แฝดเหมือน (Identical twin) [ซึ่งวิวัฒนาจากไข่ฟองเดียวกัน] คนหนึ่งเป็นคนขี้เมา อีกคนหนึ่งก็จะมีโอกาส 39% ที่จะเป็นขี้เมาด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แฝดพี่น้อง (Fraternity twin) [ซึ่งวิวัฒนาจากไข่ 2 ฟอง] หากคนหนึ่งเป็นคนขึ้เมา อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสเพียง 16% ที่จะเป็นขี้เมาด้วย

      นักวิจัยยังรายงานอีกว่า ลูกชายของพ่อขี้เมา ที่ประสาทไวน้อย (Less sensitive) ต่อการดื่มแอลกอฮอล์ 56% จะกลายเป็นขี้เมา เมื่อเปรียบเทียบกับ 14% ของลูกชายที่ประสาทไวมาก (More sensitive) ต่อการดื่มแอลกอฮอล์ ผลลัพธ์เหล่านี้แสดงว่า พันธุกรรมกำหนดประสาทไวน้อยต่อแอลกอฮอล์ ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่ดื่มจัดเท่านั้นที่จะรู้สึกถึงผลกระทบของแอลกอฮอล์ และกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคพิษสุราเรื้อรังในอนาคต

      การศึกษาจากสัตว์และมนุษย์แสดงว่า จีน/ยีน (Gene) มีผลกระทบต่อระบบสื่อประสาท (Neuro-transmitter) ที่แตกต่างกัน (GABA, NMDA, โดปามีน [Dopamine] และเซโรโทนิน [Serotonin]) อันมีอิทธิพลเหนือความอ่อนไหว (Susceptibility) ต่อแอลกอฮอล์ของแต่ละบุคคล และความเสี่ยงของการวิวัฒนาโรคพิษสุราเรื้อรังของแต่ละบุคคล เช่นกัน

      นักวิจัยเตือน (Caution) ว่า ปัจจัยของโรคพิษสุราเรื้อรัง มิใช่มาจาก จีน/ยีน ขี้เมา (Alcoholic gene) เพียงตัวเดียว แต่อาจมาจาก 6 ตัว ที่สลับกัน (In turn) มีปฏิกิริยา (Interact) กับสภาพแวดล้อมที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคพิษสุราเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม มิใช่เด็กทุกคนที่พ่อแม่ขี้เมาหรือคู่แฝดเหมือน จะกลายเป็นขี้เมา [เมื่อเติบโตขึ้น]

      กล่าวคือ ลำพังปัจจัยพันธุกรรม ไม่อาจนำไปสู่โรคพิษสุราเรื้อรัง แต่นักวิจัยเชื่อว่า โรคพิษสุราเรื้อรังเป็นผลมาจากปฏิกิริยาระหว่างปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมกับทางสภาพแวดล้อม แต่ที่แน่ชัดก็คือ การใช้ (Use) และเสพ (Abuse) แอลกอฮอล์นั้น เกี่ยวข้อง (Associated) กับปัญหามากมายในวงกว้าง (Wide range)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Alcohol - https://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol [2019, September 28].