จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 232: แอลกอฮอล์ (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-232

      

      เช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากได้พัก (Bout) จากการดื่มแอลกอฮอล์จัดในคืนก่อนหน้านั้น (3 – 7 แก้ว) ผู้ดื่มมักประสบความรู้สึก “เมาค้าง” (Hang-over) ซึ่งอาจรวมถึงท้องไส้ปั่นป่วน (Upset stomach) วิงเวียนศีรษะ (Dizziness) ความอ่อนหล้า (Fatigue) ปวดศีรษะ และโรคซึมเศร้า (Depression)

      ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาอาการเมาค้าง ซึ่งเป็นอาการลำบาก (Troublesome) และเจ็บปวด (Painful) แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายถึงชีวิต (Life-threatening) การดื่มซ้ำ (Repeated) และดื่มหนักอาจส่งผลให้เกิดความอดกลั้น (Tolerance) การเสพติด (Addiction) และการพึ่งพิง (Dependence)

      ความอดกลั้น หมายความว่า ผู้ดื่มต้องดื่มมากขึ้น เพื่อให้ประสบผลต่อพฤติกรรมในระดับเดิม การเสพติด หมายความถึงความกระหายมากขึ้น (Intense craving) ที่จะเสพแอลกอฮอล์ และการพึ่งพิง หมายความว่า ถ้าผู้ดื่มหยุดดื่ม ก็จะประสบกลุ่มอาการถอนตัว (Withdrawal symptoms) อันรวมถึงการสั่น (Shaking), คลื่นเหียน (Nausea), ความกังวล (Anxiety), ท้องร่วง (Diarrhea), ประสาทหลอน (Hallucination) และความเลอะเลือน (Disorientation)

      ปัญหาร้ายแรงอีกข้อหนึ่งก็คือ ความมืดมน (Black-out) ช่วงการดื่มซ้ำและดื่มหนัก ผู้ดื่มแอลกอฮอลล์อาจแสดงพฤติกรรมปรกติ แต่เมื่อสงบ (Sober) แล้ว จดจำสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ถ้าความมืดมนยังคงอยู่หลายชั่วโมงหรือหลายวัน ผู้ดื่มมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นขี้เมา (Alcoholic) ไป

      การดื่มซ้ำและดื่มหนักอาจส่งผลให้ตับ (Liver) ถูกทำลาย เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) และทำลายสมอง (Brain damage) นักวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด อาจเนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงทางด้านจิต (Psychological) และพันธุกรรม (Genetic) ที่ทำให้เขามีแนวโน้มที่กลายเป็นคนขี้เมา

      ตัวอย่างเช่น ผู้มีความเสี่ยงจากการเสพแอลกอฮอล์ จะสูงขึ้นถึง 3 – 4 เท่า หากมาจากครอบครัวที่พ่อแม่ก็เป็นขี้เมาเหมือนกัน ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มโอกาสแต่มิได้รับประกัน (Guarantee) ว่า ผู้ดื่มจะกลายเป็นขี้เมา เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ สภาพแวดล้อม

      นักวิจัยพบว่า เด็กๆ ที่พ่อแม่ (คนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คน) เป็นคนขี้เมา ก็จะวิวัฒนาอุปนิสัย (Trait) ที่ผิดปรกติ (Abnormal) หรือปรับตัวไม่ได้ (Mal-adaptive) ทั้งทางจิตใจและอารมณ์ เรียกว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสภาพแวดล้อม อาทิ มีความลำบากในการแสดงความไว้วางใจ พึ่งพาคนอื่นมากจนเกินไป (Over-dependent) ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัว และใจร้อน (Impulsive) หรือแสดงอารมณ์จนเกินไป (Over-emotional) เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียด (Stressful)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Alcohol - https://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol [2019, September 21].