จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 225: เฮโรอีนกับสารหลอนประสาท

จิตวิทยาผู้ใหญ่-225

      

      ในการศึกษาช่วงเวลา 24 ปี ของผู้เสพติดเฮโรอีน (Heroin addicts) จำนวนกว่า 500 คน นักวิจัยพบว่า 28% ถึงแก่ความตายเนื่องจากเสพยาเกินขนาด (Over dose) 22% ระงับความอยากได้ (Abstinent) 11% อยู่ในคุก 10% ยังเสพเป็นประจำ (Frequent users) 7% เสพติดทุกวัน และ 6% อยู่ในโปรแกรมรักษาการเสพยาเมธาโดน (Methadone treatment) ส่วนที่เหลืออีก 16% ไม่สามารถค้นหาได้ว่าอยู่ที่ไหน (Located)

      นักวิจัยสรุปว่า ถ้าผู้เสพติดเฮโรอีนไม่เลิกยาก่อนอายุ 30 ปี มีแนวโน้มที่จะเลิกยาไม่ได้ การรักษาผู้เสพติดยาส่วนมากโดยการให้ผู้เสพติดเสพยาเมธาโดน ซึ่งเป็นยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic) คล้ายฝิ่น (Opium) การเยียวยานี้ ค่อนข้างจะได้ประสิทธิผล (Effective) ในการป้องกันการเสพยาเฮโรอีน และลดกิจกรรมอาชญากรรม (Criminal)

      ในหลายภูมิภาคของโลก และในหลายวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีใช้พืชและฟังไจ (Fungi) ซึ่งเป็นเห็ด (Mushroom) ผลิตสารหลอนประสาท (Hallucinogen) เพื่อประสบการณ์ทางวัฒนธรรมหรือศาสนา อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันไม่ค่อยได้ใช้ยาหลอนประสาทจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1950s ถึง 1960s เมื่อสารเหล่านี้ได้รับความนิยม (Popularity) ตามวัฒนธรรมย่อย (Sub-culture) ของพวกที่เรียกกันว่า “บุปผาชน” (Hippie)

      นักวิจัยเริ่มศึกษาศักยภาพ (Potential) ของการใช้สารหลอนประสาทเพื่อการบำบัดรักษาโรค (Therapeutic) อันที่จริงสารหลอนประสาทนี้ เป็นยาจิตเวช (Psycho-active) ที่สร้างประสบการณ์การรับรู้ (Cognitive) อารมณ์ความรู้สึกของการหยั่งเห็น (Perceptual sensory) ที่แปลกประหลาดและผิดปรกติ ซึ่งผู้คนเห็นหรือได้ยิน แต่รู้ว่ามันมิได้เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง เรียกว่า “อาการประสาทหลอน” (Hallucination)

      สารหลอนประสาทที่ใช้กันบ่อยมี 4 ประเภท อันได้แก่ แอลเอสดี (LSD = d-lysergic acid diethylamide) ไซโบไซบิน (Psilocybin) เมสคะลีน (Mescaline) และ ยาของนักออกแบบ (Designer drug) ที่ชื่อ “เอกซ์ตาซี่” (Ecstasy) ซึ่งแปลตรงตัวว่า “ความปีติยินดี”

      LSD เป็นสารที่ค้นพบโดยบังเอิญของอัลเบิร์ต ฮอฟแมน (Albert Hofmann) ในปี ค.ศ. 1943 แต่ไม่ได้เป็นที่นิยมมากในสหรัฐอเมริกาจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960s หลังจากนั้น ความนิยมก็ค่อยๆ ตกต่ำลง แต่ก็มีรายงานการใช้ยานี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (Slight) ในคริสต์ทศวรรษ 1990s อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการครอบครอง (Possession) หรือการเสพ LSD เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Drugs of abuse : opiates - https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1002412/ [2019, August 4].
  3. Hallucinogen - https://en.wikipedia.org/wiki/Hallucinogen [2019, August 4].