จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 224: ฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-224

      

      กลุ่มยาเจือฝิ่น (Opiates) อาทิ ฝิ่น (Opium) มอร์ฟีน (Morphine) และเฮโรอีน (Heroine) สร้างผลกระทบหลัก 3 ประการ อันได้แก่ (1) การลดปวด (Analgesia) (2) ความรู้สึกสบาย (Euphoria) ระหว่างช่วงตื่น (Waking) กับช่วงหลับ (Sleep) และ (3) ท้องผูก (Constipation) การเสพยากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการอดทนยอมรับ (Tolerance) การติดยา (Addiction) และการพึ่งพิงยา (Dependence)

      ดารานักร้องนักเต้นยอดนิยม (Rock star) คนหนึ่ง อธิบายการเสพเฮโรอีนว่า เป็น “. . . ชีวิตที่ปราศจากความกังวล (Anxiety) มันเหมือนล่องลอยได้ (Floaty) แบบพระเจ้า . . . มันทำให้รู้สึกดี แต่ในที่สุด (Eventually) เขาค้นพบด้านมืด (Dark side) ของเฮโรอีน โดยกล่าวว่า “แต่สิ่งที่เฮโรอีนให้ คือการโหยหายาที่จะลากผู้เสพไปสู่นรก (Hell) โดยฆ่าผู้เสพที่ไม่สนใจสิ่งอื่นใด . . .”

      การเสพสารนี้เป็นประจำ ทำให้สมองของเขาพัฒนาการอดทนยอมรับเฮโรอีน ซึ่งหมายความว่า เขาต้องเสพในปริมาณ (Dose) มากขึ้นเรื่อยๆ ในการบรรลุผลสัมฤทธิ์ ในที่สุดการใช้ยานี้ในปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถทำงานได้ (Functioning) ซึ่งตามปรกติ แล้วมักลงเอยด้วยปัญหาส่วนตัวและในวิชาชีพ

      ในคริสต์ทศวรรษ 1970s นักวิจัยค้นพบว่า สมองมีตัวรับ (Receptor) กลุ่มสารเสพติดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมอร์ฟีนเข้าถึงตัวรับในสมอง มันจะผลิต (Produce) ความรู้สึกสบาย และลดการเจ็บปวด นอกจากนี้ ทางเดินอาหาร (Gastro-intestinal tract) ก็มีตัวรับกลุ่มสารเสพติด ซึ่งการกระตุ้นตัวรับนี้จะส่งผลเกิดอาการท้องผูก

      นักวิจัยค้นพบว่า สมองไม่เพียงแต่มีตัวรับกลุ่มสารเสพติดเท่านั้น แต่ยังผลิตสารเคมีคล้ายมอร์ฟีนของมันเองด้วย ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ จะทำงาน (Function) เหมือนสื่อประสาท (Neuro-transmitter) เรียกว่า “เอ็นดอร์ฟิน” (Endorphin) ที่มีคุณสมบัติ (Property) ลดการเจ็บปวด (Analgesic) เหมือนมอร์ฟีน

      หลายสัปดาห์หลังจากการเสพเป็นประจำ สมองของผู้เสพจะผลิตสารเอ็นดอร์ฟิน [จากร่างกาย] ของตนเองน้อยลงเรื่อยๆ และพึ่งพิง (Rely) กลุ่มยาเสพติดจากภายนอก (Outside supply)

      ผลลัพธ์ก็คือ ผู้เสพติดต้องจัดแจง (Administer) ปริมาณยาเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวัน เพื่อป้องกัน “กลุ่มอาการถอนตัว” (Withdrawal) กล่าวคือเลิกยาก ซึ่งได้แก่ การวูบ (Flash) ร้อนและหนาว เหงื่อแตก (Sweat) กล้ามเนื้อสั่น (Muscle tremor) ตะคริวที่ท้อง (Stomach cramp) แต่มิได้เป็นอันตรายต่อชีวิต เพราะจะเป็นอยู่แค่ 4 – 7 วัน แต่การเสพยามากเกินไปจะไปกดทับ (Depress) การควบคุมการหายใจ (Breathing) และถึงแก่ความตายจากระบบการหายใจล้มเหลว (Respiratory failure)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Drugs of abuse : opiates - https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1002412/ [2019, July 27].