จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 217: สารกระตุ้น (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-217

      

      เวลาช่วงนั้น เป็นสมัยของผู้ใหญ่เยาว์วัยที่เรียกว่า “บุปผายุวชน” (Flower children) ซึ่งเสพสารแอมเฟตามีน (Amphetamine) ในปริมาณหนัก จนส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการ (Symptom) หวาดระแวง (Paranoid) และจิตประสาท (Psychotic) จนถูกขนานนามว่า “วิตถาร” (Freak) การเสพสารแอมเฟตามีน (Amphetamine) พุ่งขึ้นสูงสุด (Peak) ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1960s

      ในช่วงเวลานั้น แพทย์สั่งจายยาประเภทนี้ถึง 31 ล้านใบ เพื่อลดความกระหายอาหาร (Dieting) และประมาณ 25 ตันของสารที่ผลิตอย่างถูกกฎหมาย (Legitimately manufactured) แต่ถูกผัน (Diverted) ไปจำหน่ายอย่างผิดกฎหมาย (Illegal sales)

      ในที่สุดในปี ค.ศ. 1971 องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration : FDA) ของสหรัฐอเมริกา ออกกฎห้าม (Outlaw) การสั่งจ่ายสารแอมเฟตามีนในทุกกรณี ยกเว้นอาการผิดปรกติของสมาธิสั้น (Attention-deficit/hyperactivity disorder : ADHD) และภาวะง่วงเกิน (Narcolepsy) เท่านั้น

      หลังจากการต่อสู้กับโคเคน ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980s มีการใช้สารแอมเฟตามีน มากขึ้นในรูปแบบ (Form) ที่เรียกว่า “เมแธมเฟตามีน” (Methamphetamine) ซึ่งถูกผลิตในห้องปฏิบัติการตามบ้านอันผิดกฎหมาย (Illegal home laboratory) แล้วแพร่หลายไปทั่วสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก

      ยาดังกล่าวเป็นสิ่งกลายเป็นสารยอดนิยมในญี่ปุ่น แต่ในหลายประเทศ การมียาดังกล่าวไว้ครอบครองหรือใช้ถือเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และในปี 1996 ผู้รักษากฎหมาย (Authorities) ในสหรัฐอเมริกาได้จู่โจม (Raid) ห้องปฏิบัติการเมแธมเฟตามีน ที่ผิดกฎหมาย กว่า 800 แห่ง ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และอีก 450 แห่งในภาคตะวันตกกลาง (Mid-west) อันเป็นย่านที่ยาเสพติดนี้ได้รับความนิยมสูง (Popularity)

      อันที่จริง เมแธมเฟตามีน คล้ายกับ สารแอมเฟตามีน ในส่วนประกอบทางเคมี (Chemical make-up) และผลกระทบทางร่างกายและทางจิตใจ แต่ต่างจากสารแอมเฟตามีนในรูปแบบ กล่าวคือ สารแอมเฟตามีนอยู่ในรูปแบบยาเม็ด แต่เมแธมเฟตามีน (ภายใต้ชื่อเรียกต่างๆ ว่า Speed, crank, crystal, หรือ ice) สามารถสูดดมควัน (Smoke) หรือดื่มอย่างรวดเร็ว (Snort) และถูกผลิตแทบจะทันทีทันใด (Instantaneous) ในปริมาณสูง

      แต่สารหรือยาทั้ง 2 ตัวนี้เป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นอย่างมากในความดันโลหิต อัตราการเต้นสูงของหัวใจ และอารมณ์ความรู้สึกรุนแรง (Enhanced mood) การตื่นตัว (Alertness) และพลังงาน (Energy) ทำให้ผู้เสพติดรู้สึกถึงจุดสุดยอด (Ultimate high) และวิวัฒนานิสัยให้โหยหา (Crave) แต่ความรู้สึกสบาย (Euphoria) จะกลายฝันร้าย (Nightmare) ในที่สุด

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Stimulant - https://en.wikipedia.org/wiki/Stimulant [2019, June 8].