จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 216: สารกระตุ้น (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 2 มิถุนายน 2562
- Tweet
“เพียงยา 2 เม็ด เหมือนได้พักผ่อนเป็นเดือน” (Two pills beat a month’s vacation) คำโฆษณาการตลาด (Marketing slogan) นี้ใช้เพื่อขายยาแอมเฟตามีน (Amphetamine) ในประเทศสวีเดนในคริสต์ทศวรรษ 1940s ส่งผลให้มีการใช้ยาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย (Epidemic) จนถึงจุดสูงสุด (Peak) ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1960s
ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1940s แพทย์ชาวอเมริกันสั่งจ่ายยาแอมเฟตามีน เป็นสารเพิ่มพลัง (Energizer) เติมอารมรณ์ (Mood enhancer) และลดความกระหายอาหาร (Appetite suppressors) ที่ปลอดภัย เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1960s ปริมาณ (Dose) เสพสารกระตุ้นนี้ (Stimulant) ได้กลายเป็นปัญหาร้ายแรง [ของสังคม]
ในคริสต์ทศวรรษที่ 1940s พนักงานชาวญี่ปุ่นเสพสารแอมเฟตามีน เพื่อโหมสายการผลิต (Production) ในโรงงาน (Factory) อุตสาหกรรม ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกดังกล่าว นักศึกษา คนงานกะดึก และผู้พลัดหลง (Displace) ระหว่างสงคราม ต่างเสพยานี้ เพื่อปลุกให้ตื่น (Wake-amine) อย่างแพร่หลาย (Spread) จนกระทั่งในปี ค.ศ.1954 มีชาวญี่ปุ่นจำนวน 2 ล้านคนที่เสพติด (Abuser) สารนี้ อย่างถอนตัวไม่ขึ้น (Addict)
ในช่วงต้นๆ ของคริสต์ทศวรรษ 1970s ประเทศส่วนใหญ่ได้ควบคุมการใช้สารแอมเฟตามีน โดยมาตรการ (Measure) นานัปการ ซึ่งรวมทั้งการควบคุม (Regulation) ของการสั่งจ่ายยา (Prescription) การลดการกระจาย (Supply) และการลงโทษที่รุนแรงขึ้น (Stiffer penalty)
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สารกระตุ้นคล้ายแอมเฟตามีน อาทิ เมแธมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือ “ผลึก” (Crystal) และโคเคน (Cocaine) มีการซื้อ-ขายกันในตลาดมืด (Black market) นอกจากโคเคนละแอมเฟตามีนแล้ว สารกระตุ้นเหล่านี้ยังได้แก่ คาเฟอีน (Caffeine) และนิโคตีน (Nicotine) ที่เพิ่มพูนกิจกรรมของระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system)
ผลลัพธ์ก็คือ การเพิ่มขึ้นของการตื่นตัว (Heightened alertness) การปลุกเร้า (Arousal) ความรู้สึกสบาย (Euphoria) การลดลงของความหิวกระหายและของความอ่อนเพลีย (Fatigue) ในปริมาณ (Dose for dose) ที่เท่ากันแล้ว โคเคนและแอมเฟตามีน ถือว่าเป็นสารกระตุ้นที่ทรงพลัง (Powerful) มาก เพราะมันสร้างผลกระทบที่รุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับคาเฟอีนและนิโคตีนซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่อ่อนแรง
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960s แพทย์สั่งจ่ายยาเม็ดแอมเฟตามีน เป็นจำนวนมากเพื่อรักษาอาการนานัปการ รวมถึงความอ่อนเพลีย โรคซึมเศร้า (Depression) และภาวะอ้วนเกิน (Overweight)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Stimulant - https://en.wikipedia.org/wiki/Stimulant [2019, June 1].