จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 215: การเสพติดยา (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-215

      

      ระบบประสาท (Nervous system) ของคนเราประกอบด้วย “สื่อนำส่งประสาท” (Neuro-transmitter) นับหลายสิบ และสารเคมีอื่น ที่ทำหน้าที่คล้ายตัวนำส่งสารเคมี (Chemical messenger) หลังจากเซลล์ประสาท (Neuron) ปลดปล่อย (Release) สื่อนำส่งประสาท มันทำหน้าที่คล้ายตัวกุญแจทางเคมี (Chemical key) ที่ค้นหา

      จากนั้น มันจะเปิดหรือปิดแม่กุญแจทางเคมี (Chemical lock) เพื่อกระตุ้น (Excite) หรือขัดขวาง (Inhibit) เซลล์ประสาท, อวัยวะ (Organ), หรือกล้ามเนื้อ (Muscle) ในบริเวณใกล้เคียง แต่ก็มียาบางตำรับ ทำหน้าที่คล้ายกุญแจทางเคมีซึ่งคล้ายคลึงกับสื่อนำส่งประสาทมากจน ยาตำรับเหล่านี้มีผลกระทบแบบเดียวกันกับแม่กุญแจทางเคมี

      ตัวอย่างเช่น โครงสร้างทางเคมีของมอร์ฟีน (Morphine) คล้ายกัน (Resemble) กับสื่อนำส่งประสาทของสารเอ็นโดฟิน (Endorphin) ผลลัพธ์ของความคล้าย (Similarity) นี้ ทำให้มอร์ฟีนจำลอง (Mimic) กิริยา (Action) ของสารเอ็นโดฟิน โดยมีผลกระทบเดียวกับแม่กุญแจทางเคมีที่บรรเทาความเจ็บปวด ดังนั้น ยาบางตำรับ จึงผลิต (Produce) ผลกระทบ โดยจำลองหน้าที่ของสื่อนำส่งประสาท

      เมื่อได้รับการกระตุ้น สื่อนำส่งประสาทจะคัดหลั่ง (Secrete) โดยเคลื่อนย้ายข้ามช่องระหว่างเซลล์ประสาท (Synapse) และมีผลกระทบต่อตัวรับ (Receptor) ของเซลล์ประสาทที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม หลังจากช่วงสั้นๆ สื่อนำส่งประสาทก็จะถูกดูดซึมกลับ (Re-absorbed) เข้าไปในเซลล์ประสาท

      กิริยาที่สื่อนำส่งประสาทถูกเคลื่อนย้าย (Remove) ออกจากช่องระหว่างประสาท ผ่านการดูดซึมกลับ (Reuptake) ถ้าไม่มีการดูดซึมกลับ สื่อนำส่งประสาทก็จะคงค้างอยู่ในช่องระหว่างประสาท และเซลล์ประสาทก็จะได้รับการกระตุ้น (Stimulated) อย่างต่อเนื่อง

      ยาบางตำรับ อาทิ โคเคน (Cocaine) ขัดขวาง (Block) การดูดซึมกลับ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกระตุ้นทางประสาท (Neural stimulation) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระตุ้น (Arousal) ที่เพิ่มขึ้นทั้งทางสรีระ (Physiological) และทางจิตใจ (Psychological) โดยเฉพาะยาบางตำรับหรือ สิ่งกระตุ้น (Stimulant) ที่มีการใช้บ่อยๆ (Frequently use)

      สิ่งกระตุ้น เป็นคำที่ครอบคลุม (Over-arching) ยาหรือสารจำนวนมาก ที่เพิ่มกิจกรรมของระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) และร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิดความรื่นรมย์ (Pleasurable) หรือเพิ่มพลังให้กระชุ่มกระชวย (Invigorating) มีการใช้สิ่งกระตุ้นกันแพร่หลายไปทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งจำพวกที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (Prescription) หรือไม่ต้องมี หรือผิดกฎหมาย (Illicit)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Psychoactive drug - https://en.wikipedia.org/wiki/Psychoactive_drug [2019, May 25].
  3. Stimulant - https://en.wikipedia.org/wiki/Stimulant [2019, May 25].