จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 193: โลกของการฝัน (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-193

      

      ในทางกลับเปลือกสมอง (Cortex) จะพยายามเข้าใจ (Make sense) สัญญาณสุ่ม (Random signals) โดยพยายามสร้างความรู้สึก, จินตนาการ (Imagine), การเคลื่อนไหว, การหยั่งรู้ (Perception), ภาพ (Scene) ที่เปลี่ยนแปลง, และภาพ (Image) ที่ไร้ความหมาย ซึ่งเรานิยามทั้งหมดนี้ว่า เป็นการฝัน

      ในเวลาต่อมา นักวิจัยได้แก้ไขทฤษฎีการฝันแบบสังเคราะห์การกระตุ้น (Activation-Synthesis Theory) โดยยอมรับ (Acknowledge) ว่า อันที่จริง การฝันสะท้อนความทรงจำในอดีต, ความหวัง, และความกลัวอย่างมาก ตลอดจนมุมมองส่วนตัว (Personal view) ของโลกรอบตัว

      เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยฉายรังสีกราดตรวจ (Positron emission tomography : PET Scan) กิจกรรมเซลล์ประสาท ในขณะที่ผู้เข้ารับการทดลอง (Subject) อยู่ในภาวะนอนหลับแบบ REM (= Rapid eye movement หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา) แล้วรายงานผลดังนี้

      ระหว่างการนอนหลับแบบ REM อาณาบริเวณในเปลือกสมองส่วนหน้า (Pre-frontal cortex) ซึ่งรับผิดชอบต่อการทำงานของผู้บริหาร (Executive functions: EF) อาทิ การคิด, การวางแผน, และการใช้เหตุผล (Reasoning) ได้ลดกิจกรรมลง ในขณะที่อาณาบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการใช้อารมณ์ความรู้สึก (Limbic system) และประสบการณ์การมองเห็นจากเปลือกสมองส่วนมองเห็น (Visual cortex) ได้เพิ่มกิจกรรมขึ้น

      ความแตกต่างในกิจกรรมสมองดูเหมือนจะอธิบายได้ว่า ทำไมการฝันของเราจึงมักหวั่นไหวไปตามอารมณ์ความรู้สึกและการมองเห็นที่ค่อนข้างประหลาด, วิตถาร (Bizarre), และปราศจากการวางแผนที่ดี (Poorly planned)? แล้วทฤษฎีการฝันทั้ง 3 จากวัฒนธรรมตะวันตก แตกต่างอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมพื้นเมือง อาทิ จากชาวเอสกิโม (Eskimo)

      อันที่จริง ชาวเอสกิโมได้ดำรงชีวิตอยู่มานานนับพันปีอย่างสันโดษ (Isolation) ไปตามชายฝั่งขั้วโลกเหนือ (Artic coast) ทวีปอเมริกาเหนือ ชาวเอสกิโมเชื่อเช่นเดียวกับชาวพื้นเมืองอื่นๆ ว่า การฝันเป็นหนทางเข้าสู่โลกวิญญาณ (Spiritual world) ณ ที่วิญญาณ (Soul) ของสัตว์ [รวมทั้งมนุษย์] และอำนาจเหนือธรรมชาติหรืออภินิหาร (Supernatural) จะปรากฏให้เห็น กล่าวโดยสรุป พลังในโลกวิญญาณ จะช่วยให้ผู้มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันสะท้อนเหตุการณ์ในอดีตหรืออนาคตผ่านการฝัน

      แม้ว่าชาวเอสกิโมจะอยู่ห้วงเวลา สถานที่ และวัฒนธรรมที่แตกต่างจากซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หรือ นักจิตบำบัดตะวันตก แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นคู่ขนาน (Parallel) ระหว่างทฤษฎีของการฝันของ 2 วัฒนธรรมนี้

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Entering the World of Dreamshttps://www.psychologytoday.com/us/blog/the-wisdom-your-dreams/200911/entering-the-world-dreams [2018, December 22].