จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 191: โลกของการฝัน (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 9 ธันวาคม 2561
- Tweet
ในหนังสือซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1899 ในประเทศเยอรมัน “บิดาแห่งจิตวิเคราะห์” (Founder of Psycho-analysis) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้กล่าวไว้ในทฤษฎีการฝัน (Theory of Dreams) ว่า คนเรามี “เครื่องกรองข่าว” (Censor) ที่ปกป้องเราจากการรับรู้ (Realize), ความต้องการ (Desire), และความปรารถนา (Wish) ที่เป็นภัยคุกคาม (Threatening) อย่างไร้สำนึก (Unconscious) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับเพศ (Sex) หรือความก้าวร้าว (Aggression)
เครื่องกรองข่าวดังกล่าวแปลงโฉม (Transform) ความปรารถนาของเราที่มักซ่อนเร้น (Secret) หรือมักเต็มไปด้วยความสำนึกผิด (Guilt-ridden) และสร้างความกังวล (Anxiety-provoking) ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ปลอดภัย (Harmless) ซึ่งปรากฏในการฝันของเรา และไม่ได้รบกวน (Disturb) การนอนหลับหรือความคิดด้วยจิตสำนึกของเรา
ฟรอยด์ได้อภิปรายถึงความหมายของสัญลักษณ์ว่า ในเพศชาย สัญลักษณ์คือวัตถุยาว อาทิ ไม้เท้า (Stick) ร่ม (Umbrella) และดินสอ (Pencil) ส่วนในเพศหญิง สัญลักษณ์คือวัตถุกลวง (Hollow) อาทิ ถ้ำ (Cave) ขวด (Jar) และรูกุญแจ (Key-hole) [ตามรูปร่างของอวัยวะเพศนั่นเอง]
เขาเชื่อว่า นักจิตวิเคราะห์ (Psycho-analyst) หรือนักจิตบำบัด (Psycho-therapist) คือผู้แปลผล (Interpret) หรือถอดรหัส (Decode) ความคิดหรือสัญลักษณ์ที่แอบแฝงอยู่ (Disguised) และช่วยผู้ป่วยค้นพบโลกภายใน (Internal world) ของเขาซึ่งรวมทั้งการไร้สำนึก (Unconscious) ของความต้องการ (Desire), ความจำเป็น (Need), การป้องกัน (Defense), ความกลัว (Fear), และอารมณ์ความรู้สึก (Emotion)
หนังสือเล่มนี้ เป็นหนึ่งในผลงาน (Works) ที่สำคัญที่สุดของฟรอยด์ แม้ว่ามันจะไม่ได้รับความนิยมจนเวลาผ่านพ้นไปถึง 8 ปี และได้รับการปรับปรุง (Revised) แล้วตีพิมพ์ใหม่ถึง 7 ครั้งตลอดชั่วชีวิตของฟรอยด์ นักจิตวิเคราะห์ในปัจจุบันเห็นด้วยกับความคิดของฟรอยด์ว่า การฝันมีความหมายและสามารถแปลผลความกังวล (Concern), ความกลัว (Fear), หรือความวิตก (Worry) แต่ก็มีนักจิตบำบัดจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับความคิด (Idea) ของฟรอยด์ที่ว่า เนื้อหา (Content) ของการฝันจำเป็นต้องเป็นสัญลักษณ์ หรือความคิดแอบแฝงของความต้องการและความปรารถนาที่เป็นภัยคุกคามอย่างไร้สำนึก
ในทฤษฎีที่ 2 นักจิตบำบัดจำนวนมาก เชื่อว่า การฝันเป็นส่วนขยาย (Extension) ของชีวิตช่วงตื่นอยู่ (Waking life) ซึ่งหมายความว่า การฝันของคนเรามักสะท้อนสิ่งเดียวกันของความคิด, ความกลัว, ความกังวล, ปัญหา, และอารมณ์ที่เราประสบเมื่อเราตื่นนอนอยู่
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Entering the World of Dreamshttps://www.psychologytoday.com/us/blog/the-wisdom-your-dreams/200911/entering-the-world-dreams [2018, December 8].
- The interpretation of dreams https://en.wikipedia.org/wiki/The_Interpretation_of_Dreams [2018, December 8].