จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 190: โลกของการฝัน (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 2 ธันวาคม 2561
- Tweet
แม้จะมีบางคนยืนยัน (Insist) ว่าไม่เคยฝันในชีวิตเลย แต่นักวิจัยก็พบว่าทุกๆ คนฝันในเวลากลางคืน เพียงแต่อาจจะลืมความฝันเมื่อตื่นนอนตอนรุ่งเช้า ในห้องปฏิบัติการการนอนหลับ (Sleep laboratory) ผู้คนที่ตื่นนอนจากช่วง REM (= Rapid eye movement หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา) รายงานว่า 80 ถึง 100% ของเวลาที่เขามีการฝัน เขาเห็นภาพ (Image) ที่สดใส (Vivid) มีสีสัน (Colorful) และแม้กระทั่งวิตถาร (Bizarre)
ผู้คนตื่นจากการนอนหลับแบบ Non-REM หรือทันทีที่เข้านอน ก็รายงาน (แม้ว่าด้วยความถี่ที่น้อยกว่า [Less frequently]) ว่ามีการฝันซึ่งอาจประกอบ (Contain) ด้วยความคิดซ้ำซาก (Repetitive) และน่าเบื่อ (Dull) หรือภาพที่มีสีสัน ส่วนการพยายามแปรผล (Figure out) ความหมายของการฝัน เป็นได้กลายเป็นกิจกรรมยอดนิยมในบรรดานักปราชญ์ (Scholars) ทั้งหลาย
นักจิตวิทยา (Psychologist), นักสรีรวิทยา (Physiologist), นักมานุษยวิทยา (Anthropologist), ศิลปิน (Artist), ผู้รอบรู้ (Swami), และผู้ทำงานเกี่ยวกับการฝัน (Dream worker) กว่า 400 คน จะพบกันทุกปี ณ สมาคมเพื่อการศึกษาเรื่องการฝัน (Association for the Study of Dreams) โดยมุ่งเน้นไปที่การค้นหา (Discover) ความหมายของการฝัน ซึ่งมิใช่งานที่ง่ายนัก เพราะมีทฤษฎีหลากหลาย (Numerous)
ในปัจจุบัน มี 3 ทฤษฎียอดนิยมทางจิตวิทยาในการแปลผลการฝัน รวมถึงทฤษฎีการฝันที่มีอายุยาวนานเป็นพันปีของชาวเอสกิโม (Eskimo) แต่ทฤษฎีที่ได้รับความสนใจมากที่สุด แต่ยังเป็นที่ถกเถียงกัน (Controversial) ไม่น้อย ก็คือทฤษฎีของซิกมันด์ฟรอยด์ (Sigmund Freud’s Theory of Dream) ในทฤษฎีแรกนี้ เขาได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่เคยมีใครกล่าวมาก่อนว่า การฝันมีความหมายและสามารถเข้าใจได้
ในคำนำ (Preface) ของหนังสือที่มีชื่อเสียง (Famous) ของฟรอยด์ ชื่อ “การแปลผลของการฝัน” (Interpretation of Dream) ในปี ค.ศ. 1900 เขาระบุว่า “ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้าในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยการค้นพบอันทรงคุณค่าที่สุด (Most valuable) เมื่อเปรียบเทียบกับการค้นพบที่โชคดี (Good fortune) ทั้งหมดของข้าพเจ้า ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Insight) ในเรื่องนี้จะเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญไปตลอดชีวิต (Life time)”
ก่อนปี ค.ศ. 1900 นักจิตวิทยาเชื่อว่า การฝันเป็นสิ่งไร้ความหมาย (Meaningless) และเป็นภาพแปลกประหลาดเหลือเชื่อ แต่ทฤษฎีของฟรอยด์ได้เปลี่ยนความคิดทั้งหมดที่มีอยู่ในเวลานั้น เมื่อเขากล่าวว่า การฝันเป็นเส้นทางของพระราชา (Royal road) อันนำไปสู่ (Reach) ความคิดและความต้องการ (Desire) ที่ไร้สำนึก (Unconscious)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Entering the World of Dreamshttps://www.psychologytoday.com/us/blog/the-wisdom-your-dreams/200911/entering-the-world-dreams [2018, December 1].