จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 189: ความแตกต่างทางวัฒนธรรม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-189

      

      ตามที่คาดคิดกัน จำนวนอุบัติการณ์ (Incidence) ของ “โรคอารมณ์แปรปรวน” (Sensational affective disorder : SAD) ต่ำมากๆ (เพียง 1.4%) ในบรรดาผู้อยู่อาศัย (Resident) อยู่ในรัฐฟลอริดา (Florida) ซึ่งมีแสงแดดเกือบตลอดเวลา แต่เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าประมาณ 5 เท่า (7.3%) ในบรรดาผู้อยู่อาศัยภายใต้ท้องฟ้าสีเทาหนาวเหน็บของรัฐนิวแฮมป์เชียร์ (New Hampshire)

      อย่างไรก็ตาม ไกลออกไปทางเหนือของรัฐนิวแฮมป์เชียร์มีเกาะไอซ์แลนด์ (Iceland) ซึ่งมีฤดูหนาวที่แทบจะไม่มีแสงแดดเลย ทั้งในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบผลิ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐนิวแฮมป์เชียร์ แต่ปรากฏว่า ชาวเกาะนี้ประสบอุบัติการณ์ SAD เพียงครึ่งหนึ่ง (3.9%) ของชาวนิวแฮมป์เชียร์ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

      เมื่อนักวิจัยพยายามอธิบายการค้นพบสิ่งผิดปรกติจนทำให้ความคาดคิดผิดเพี้ยนไป โดยการตรวจสอบวิธีการ [แบบสอบถาม] และขั้นตอนปฏิบัติ (Procedure) ที่ใช้ในการวัดผลตัวแปรตาม (Dependent variable) ซึ่งในกรณีนี้คือ SAD ผลปราฏกว่าเป็นวิธีการและขั้นตอนปฏิบัติเดียวกับที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาแล้วจะอธิบายอุบัติการณ์ในนิวแฮมป์เชียร์ที่สูงกว่าไอซ์แลนด์ได้อย่างไร?

      นักวิจัยสรุปว่า ความแตกต่างในวิธีการ แบบสอบถาม วิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หรืออาชีพ (Occupation) ไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของอุบัติการณ์นี้ได้ จึงเหลือเพียงอีก 2 คำอธิบายเท่านั้น [ที่มีความเป็นไปได้] กล่าวคือความแตกต่างทางวัฒนธรรม และพันธุกรรม (Genetics)

      กว่า 1,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวไอซ์แลนด์ได้อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว (Isolated) ในสภาพแวดล้อมที่ลำบาก (Demanding) ทรหด (Harsh) และบึกบึน (Unyielding) เพราะปราศจากแสงแดดอย่างเพียงพอ จึงอาจพัฒนาความแข็งแกร่งทางอารมณ์ (Emotional hardness) ที่จะรับมือกับฤดูหนาวที่มืดมัว (Gloomy) ซึ่งกระตุ้น (Trigger) ให้เกิดกรณี SAD เป็น 2 เท่าของผู้อยู่อาศัย เมื่อเปรียบเทียบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา [รัฐนิวแฮมป์เชียร์]

      อีกคำอธิบายหนึ่งของอุบัติการณ์ต่ำในกรณี SAD อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น นักวิจัยศึกษาประชากรของผู้อพยพ (Immigrants) ในแคนาดา ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชาวไอซ์แลนด์ อุบัติการณ์ของ SAD ในบรรดาผู้สืบทอด (Decent) จากชาวไอซ์แลนด์ ต่ำมากกว่าที่คาดคิดกันไว้ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้อยู่อาศัยในละแวกเดียวกัน

      นักวิจัยสรุปว่า ความถี่ที่ต่ำ (Low frequency) ของอุบัติการณ์ SAD ในบรรดาชาวไอซ์แลนด์อย่างน่าฉงน (Puzzling) อาจสะท้อนความแตกต่างทั้งทางพันธุกรรมและทางวัฒนธรรม อาทิ การเรียนรู้ที่จะรับมือกับการแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว และสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. World sleep societyhttp://worldsleepsociety.org/about/bylaws/ [2018, November 24].