จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 186: การอดนอน (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-186

      

      การอดนอน (Deprivation) 11 วัน หรือ 264 วัน มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่ออัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ความดันโลหิต (Blood pressure) และการหลั่งฮอร์โมน (Hormone secretion) ดูเหมือนว่า การทำงานทางสรีสระ (Physiological function) ที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomous nervous system) มิได้ถูกทำลาย (Disrupted) ในช่วงที่ปราศจากการนอน

      อย่างไรก็ตาม การอดนอนมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลไกป้องกันของร่างกายจากไวรัส (Virus) การติดเชื้อ (Infection) และสารพิษ (Toxic agent) อื่นๆ ในการศึกษาหนึ่ง ผู้เข้ารับการวิจัยได้นอนหลับเพียง 3 – 4 ชั่วโมง แทนการนอนหลับปรกติ 8 ชั่วโมง ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าสนใจมาก

      หลังจากการนอนหลับไม่เต็มที่ได้ 1 คืน ผู้เข้ารับการวิจัยก็แสดงการลดลงของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยวัดจากจำนวนเม็ดเซลล์เพชฌฆาต (Killer cell) นักวิจัยสรุปว่า สำหรับผู้คนส่วนใหญ่แล้ว การอดนอน อาจหมายถึงการเพิ่มความเสี่ยง (Vulnerability) ต่อการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด

      มีรายงานอย่างสม่ำเสมอว่า การอดนอนเป็นสาเหตุของความหงุดหงิด (Irritability) และความทุกข์ ซึ่งไปแทรกแซง (Interfere) การทำงานที่ต้องอาศัยการเฝ้าระวัง (Vigilance) และสมาธิ (Concentration) อาทิ การระลึกถึง (Recall) การจดจำ (Recognize) คำ และการทดสอบคณิตศาสตร์

      ผู้ที่ต้องอดนอนมาก อาทิ ผู้คุมบังเหียนรถเลื่อนสุนัขลาก (Sled-dog racer) ได้นอนหลับเฉลี่ยเพียงคืนละ 2 ชั่วโมง ในระหว่างการแข่งขัน 12 วัน ท่ามกลางหิมะในรัฐอลาสกา สหรัฐอเมริกา พวกเขารายงานว่ามีอาการประสาทหลอน (Hallucination) อย่างเห็นชัด (Vivid) อาทิกำลังเห็นหรือเข้านอนในห้องที่มีเตาผิงไฟลุกโชติ (Blazing fireplace) มีเตียงนอนและที่อาบน้ำร้อน

      เมื่อตื่นนอนขึ้นในเวลาต่อมา เขาพบว่าตัวเองนอนอยู่กลางหิมะที่หนาวเยือก ขึ้นอยู่กับการอดนอนมากหรือน้อย ต่างเป็นสาเหตุให้มีอารมณ์ฉุนเฉียว (Moodiness) และประสาทหลอน รวมทั้งกระทบต่อผลการรับรู้ (Recognitive performance)

      แล้วอะไรคือสาเหตุของการนอนหลับ? พวกเราส่วนใหญ่จะหลับได้ภายใน 5 ถึง 30 นาที หลังจากเข้านอน และจะนอนหลับได้เฉลี่ย 8 ชั่วโมง (ช่วงระหว่าง 6 ถึง 10 ชั่วโมง) การเข้านอนเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน (Complicated process) มาก ในระหว่างนี้อาณาบริเวณต่างๆ ของสมอง จะได้รับการกระตุ้น (Activated) หรือลดการกระตุ้น (De-activated) กระบวนการทั้งหมดนี้ กระตุก (Flip) กลับไป-กลับมาด้วยปุ่มสวิตช์ (Switch) ตลอดคืน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. World sleep societyhttp://worldsleepsociety.org/about/bylaws/ [2018, November 3].