จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 185: การอดนอน (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 28 ตุลาคม 2561
- Tweet
ทำไมเราถึงใช้เวลาประมาณ 1 ใน 3 ของแต่ละวันในการนอน เราสามารถอธิบายได้ด้วย 2 ทฤษฎียอดนิยม (Popular) กล่าวคือทฤษฎีซ่อมแซม (Repair) และทฤษฎีปรับตัว (Adaptive)
ทฤษฎีซ่อมแซมกล่าวว่า กิจกรรมระหว่างวันใช้ปัจจัยสำคัญของสมองและร่างกายเสื่อมลง (Deplete) จึงต้องมีการเติมใหม่ (Replenish) หรือซ่อมแซมโดยการนอน ซึ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูเบื้องต้น (Primarily restorative process) ทฤษฎีนี้ชอบด้วยเหตุผลอยู่ 2 – 3 ประการ
ประการแรก ขั้นตอนที่ 4 ของการนอนหลับ มีการหลั่ง (Secrete) ฮอร์โมนเจริญเติบโต (Growth hormone) ซึ่งควบคุมหลายด้าน (Aspect) ของการเผาผลาญ (Metabolism) การเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาสมอง ประการที่ 2 ระหว่างการนอนหลับ มีการผลิต (Production) เซลล์คุ้มกัน (Immune cell) เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ (Infection)
ประการที่ 3 มีการเปลี่ยนแปลงปานกลาง (Moderate) ในตารางการนอน จนเป็นสาเหตุให้ความสุขและความรื่นเริง (Cheerfulness) ลดลง ดูเหมือนว่า สมองจำเป็นต้องนอนเพื่อเจริญเติบโต ซ่อมแซม ระบบภูมิคุ้มกัน และดำรงรักษาอารมณ์อย่างสมบูรณ์ (Optimum mood)
ส่วนทฤษฎีปรับตัว กล่าวว่า การนอนวิวัฒนา (Evolve) เพื่อปกป้องคนและสัตว์จากการสูญเสียพลังงาน (Energy) และจากการล่อแหลม (Expose) ต่อภยันตรายจากสัตว์ล่าเหยื่อกลางคืน (Nocturnal predator) ผู้สนับสนุนทฤษฎีนี้ เกิดจากการสังเกตว่า สัตว์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่ อาทิ สิงโต นอนนานเมื่อต้องการ ในขณะที่สัตว์เล็กที่เป็นเหยื่อนอนน้อยกว่ามาก และอยู่ในอาณาบริเวณที่ได้รับการปกป้อง
นอกจากนี้ คนและสัตว์ ต้องอาศัยทิศทางสายตา (Visual cue) เป็นส่วนใหญ่ และไม่ค่อยเห็นในเวลากลางคืนที่จะวิวัฒนา นาฬิการอบจังหวะ (Circadian clock) ของการนอนในเวลากลางคืน จึงหลีกเลี่ยงการเป็นเหยื่อ (Prey) กล่าวโดยรวม ทั้ง 2 ทฤษฎีนี้มิได้ขัดแย้งกัน (At odds) แต่มุ่งเน้นไปที่เหตุผลแตกต่างกันว่า ทำไมเราจำเป็นต้องนอน?
แล้วอะไรจะเกิดขึ้นถ้าเราไม่ได้นอน? วิธีหนึ่งของการสืบค้น (Investigate) ว่า ทำไมการนนอนจึงมีความสำคัญมาก คือการศึกษาการอดนอน (Deprive) บันทึกการขาดนอนที่สร้างสถิติสูงสุด คือหนุ่มคนหนึ่งที่อดนอนได้ 11 วัน หรือ 264 ชั่วโมง ในวันที่ 11 นั้น เขาสามารถเอาชนะนักวิจัยในการเล่นเกมปักหมุด (Pin ball) ซึ่งแสดงว่า เขายังคงตื่นอยู่ และตื่นตัว (Alert)
แล้วเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้คนอดนอนนานๆ ?
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- World sleep societyhttp://worldsleepsociety.org/about/bylaws/ [2018, October 27].