จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 313 : ภาวะอ้วนเกิน

จิตวิทยาผู้สูงวัย-313

      

ภาวะอ้วนเกิน (Obesity) เป็นสภาวะทางการแพทย์ที่ไขมันในร่างกาย (Body fat) ได้สะสมถึงจุดที่อาจมีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ ผู้คนที่มีภาวะอ้วนเกิน เมื่อดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) ซึ่งวัดได้ด้วยการหารน้ำหนักตัว (คิดเป็นกิโลกรัม) ด้วยส่วนสูง (คิดเป็นเมตร) ยกกำลังสอง ให้อยู่ในช่วง 18.5 ถึง 24.9 โดยที่เกินกว่า 24.9 ถือว่าน้ำหนักเกิน (Overweight)

ภาวะอ้วนเกินมีสหสัมพันธ์ (Correlation) กับโรคร้าย โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardio-vascular), เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes), การนอนที่หายใจติดขัด (Obstructive sleep apnea), บางประเภทของมะเร็ง (Cancer) และโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteo-arthritis)

ดัชนีมวลกายสูง เป็นสัญญาณของความเสี่ยง แต่การพิสูจน์ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นสาเหตุโดยตรงของโรคที่เกิดจากการกินอาหาร (Diet), กิจกรรมกายภาพ (Physical activity), และปัจจัยสภาพแวดล้อม แต่งานวิจัยพบสหสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (Reciprocal) ว่า ภาวะอ้วนเกินเพิ่มความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า และโรคซึมเศร้าก็นำไปสู่โอกาสสูงขึ้นของการวิวัฒนาภาวะอ้วนเกิน

ภาวะอ้วนเกินมีสาเหตุจากอาหารการกิน, กิจกรรมกายภาพ, ระบบทำงานอัตโนมัติ (Automation), การดำรงชีวิตในเมือง (Urbanization), ความอ่อนไหวทางพันธุกรรม (Genetic susceptibility), การกินยา (Medication), ความผิดปรกติทางจิตใจ (Mental disorder), ความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ (Endocrine disorder) และการได้รับ (Exposure) สารเคมีที่พลิกผันต่อมไร้ท่อ (Endocrine-disrupting chemical)

ผู้คนจำนวนไม่น้อยพยายามลดน้ำหนักและประสบความสำเร็จในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่งานวิจัยแสดงว่า การรักษาน้ำหนักที่ลดลงเป็นระยะเวลายาวนานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก (Rare)

การป้องกันภาวะอ้วนเกินต้องอาศัยวิธีการที่ซับซ้อน (Complex approach) ตั้งแต่การแทรกแซงในระดับชุมชน, ครอบครัว, และส่วนบุคคล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหาร และออกกำลังกายเป็นการบำบัดรักษาที่แนะนำโดยนักวิชาชีพสุขภาพ (Health professional)

คุณภาพของการกินอาจปรับปรุงโดยการลดการบริโภคอาหารที่สร้างเสริมพลังงาน (Energy-dense) อาทิ อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และเพิ่มการบริโภค (Intake) อาหารที่มีเส้นใย (Dietary fiber) การกินยา (Medication) พร้อมอาหารที่เหมาะสมอาจช่วยลดการดูดซึมของไขมัน (Fat absorption) ได้

แต่ถ้าอาหาร, การออกกำลังกาย, และการกินยาแล้วยังไม่ได้ประสิทธิผล (Effective) การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Gastric surgery) อาจลดปริมาตรในท้อง (Stomach volume) หรือความยาวของลำไส้เล็ก (Intestine) อันนำไปสู่ความรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น หรือลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่ทรงคุณค่าโภชนาการ (Nutrient)

แหล่งข้อมูล:

  1. ศุภวุฒิ สายเชื้อ, ดร. (2562). Healthy Aging: เกิด แก่ (ไม่) เจ็บ ตาย - สูงวัยอย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ Openbooks ในเครือบริษัท โอเพ่น โซไซตี้ จำกัด
  2. Exercise - https://en.wikipedia.org/wiki/Exercise[2021, April 13]
  3. Obesity - https://en.wikipedia.org/wiki/Obesity[2021, April 13]