จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 307 : สังคมเทคโนโลยี (6)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 มีนาคม 2564
- Tweet
ความก้าวหน้าทางการแพทย์ (Medical advancement) แม้จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ แต่เพิ่มความเสี่ยง (Vulnerable) ให้ผู้สูงวัยในเรื่องอื่นๆ การค้นพบความมหัศจรรย์ (Break-through) ทางการแพทย์ สามารถชะลอกระบวนการชราภาพ ซึ่งทำให้ผู้คนสามารถยืดอายุขัยที่อาจทำให้เขาสนุกสนานกับชีวิต พอๆ กับทนทุกข์ทรมาน ดังนั้น การจินตนาการว่า ผู้สูงวัยจะมีความสุขขึ้นจากความก้าวหน้าดังกล่าว อาจเป็นการมองโลกในแง่ดีอย่างโง่เขลา (Foolishly optimistic)
อันที่จริงการมองอนาคตเกือบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องเกิดจากข้อวิพากษ์วิจารณ์ (Criticism) ของปัจจุบันและการพยากรณ์หลากหลาย ข้อถกเถียงมักได้รับการจุดเชื้อ (Fueled) โดยปัญหาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชราภาพ (Gerontological) และจากผู้สูงวัยจำนวนมากในสังคมอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม อาจไม่ยุติธรรมที่จะสรุปถึงเฉพาะสิ่งเน่าเฟะ (Rotten) ในจิตวิทยาผู้สูงวัย (Psycho-gerontology) อันที่จริง สาขาวิชานี้ ได้แสดงการเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่ง (Healthy growth) และมีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย การพยากรณ์ในอนาคตอาจเป็นเส้นทาง 2 แพร่ง เส้นทางหนึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นจริง อีกเส้นทางหนึ่งเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น
ค่าย (Camp) ที่เชื่อในเส้นทางแรก เกิดจากการวิพากษ์วิจารณ์ของวิธีวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน นักวิจัยต้องยุติแนวทางปฏิบัติที่ว่าผู้สูงวัยเป็นเชื้อชาติ (Race) ต่างหาก ซึ่งไม่เพียงแต่มิใช่วิธีการวิทยาศาสตร์ (Unscientific) แต่เป็นการเกื้อกูล (Patronizing) และแบ่งแยก (Divisive) อย่างไรก็ตาม ในมุมมองที่อ่อนลง (Milder note) แม้จะมีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางนี้ แต่จิตของผู้สูงวัยเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interactive process) มิใช่ระบบเดี่ยว (Single system)
วิธีการแยกชิ้นส่วน (Isolate) แล้ววิเคราะห์ในรายละเอียด ก็เปรียบเหมือน (Analogous) เรื่องเก่าเล่าขาน (Chestnut) ของคนตาบอด 3 คนที่สำรวจตัวช้าง ขึ้นอยู่กับส่วนไหนของช้างที่เขาได้สัมผัส ซึ่งทำให้เขาแยกแยะว่าเป็นงู, ต้นไม้, หรือนก แบบจำลองหลากหลายปัจจัย (Multi-factorial) นี้นำไปสู่ปัญหา ซึ่งผลลัพธ์เดียวไม่เคยเป็นแนวโน้มที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ความจริงไม่เคยบริสุทธ์ (Pure) และไม่ง่ายนัก (Rarely simple)
เส้นทางที่ 2 เป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ในอนาคตในเรื่องของเทคโนโลยีและทัศนคติ และปัจจัยเหล่านี้ อาจจะกระทบผู้สูงวัยอย่างไร? เรามักจะคิดว่าเทคโนโลยีจะกำหนด (Shape) ชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็เป็นไปได้ที่ผู้สูงวัยจะละเลย (Ignore) มันไป เขาจะยืนหยัดในสิ่งที่เขาต้องการ มิใช่ถูกผู้เยาว์วัยยัดเยียดว่า สิ่งนี้ดีสำหรับเขา
ผู้สูงวัยอาจต่อต้านสิ่งประดิษฐ์ (Invention) ใหม่ๆ มิใช่เพราะความอนุรักษ์นิยมที่ติดตัวมา (In-built conservatism) แต่เพราะเขามองไม่เห็นความคุ้มค่า (Worth) ในการยอมรับ (Adopt) แนวทางปฏิบัติใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มการใช้ที่จำกัด สิ่งนี้เป็นมุมมองโลกในแง่ดีที่สุด (Optimistic vision) สำหรับชั่วอายุคนที่เกษียณแล้ว (Generations of pensioners)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Ageinghttp://en.wikipedia.org/wiki/Ageing [2021, March 2].