จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 306 : สังคมเทคโนโลยี (5)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 24 กุมภาพันธ์ 2564
- Tweet
นอกจากนี้ ยังมีอีกปัญหาหนึ่ง ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) จะทำงานได้ดีตราบเท่าที่ข้อมูลถูกป้อนเข้า, เลือกผู้คนที่จะโกหก, หรือผู้คนที่ปกปิด (Gloss over) บางกลุ่มอาการ แพทย์ตัวตนจริงอาจสังเกตน้ำเสียง (Voice tone) หรือภาษากาย (Body language) แล้วค้นพบสิ่งลวงตา (Subterfuge) ได้มากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เว้นแต่ว่ามีการปรับปรุงทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เกินกว่าข้อจำกัดในปัจจุบัน กล่าวโดยสรุป ระบบมีโอกาสถูกใช้ในทางที่ผิดอย่างร้ายและอันตราย (Fatal)
ข้อพิจารณาเพิ่มเติมก็คือเทคโนโลยีใหม่ได้รับการออกแบบสำหรับผู้ใหญ่เยาว์วัย อุปกรณ์ขนาดจิ๋ว (Miniaturized gadget) อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบรรณาการ (Tribute) ของศิลปะนักออกแบบ แต่มักเล็กเกินไปที่ผู้สูงวัยจะมองเห็นหรือใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบชราภาพที่ดำเนินต่อเนื่อง (Aging perpetual system) จะสูญเสียความสามารถในการประมวลรายละเอียด (Fin detail) ในรูปแบบอารมณ์ความรู้สึก (Sensory modality) และดูเหมือนว่า หลากหลายชิ้นส่วนของเทคโนโลยีได้รับการออกแบบเพื่อความเสียเปรียบ (Handicap) ของผู้สูงวัย
ศูนย์วิทยาศาสตร์ชราภาพประยุกต์ (Center for Applied Gerontology) ของมหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮม (Birmingham University) ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ มีคำ¬ขวัญ (Slogan) ว่า “ออกแบบเพื่อผู้เยาว์วัย คุณมักละเลยผู้สูงวัย; แต่ถ้าออกแบบเพื่อผู้สูงวัย คุณจะรวมผู้เยาว์วัยด้วย” (Design for the young, you exclude the old; design for the old, you include the young.) มิได้หมายความว่า ทุกรายการที่ได้รับการออกแบบ จะต้องลำเอียงตามอายุ (Age-impartial) แต่อาจเป็นการยากที่จะเข้าใจว่า ทำไมผู้ผลิตสินค้าจึงต้องละเลยอย่างน้อย 20% ¬ของโอกาสในตลาด โดยทำให้เรื่องยุ่งยากขึ้น
ในการออกแบบโดยคำนึงผู้สูงวัยเป็นการช่วยผู้เยาว์วัยที่มีปัญหาทางร่างกาย อาทิ สายตาที่แย่ (Poor vision) หรือ ¬นิ้วมือที่ใช้ได้ไม่คล่องแคล่ว (Dexterity) เหมือนเดิม แต่ในทางกลับกันของข้อถกเถียงนี้ อาจมีอันตรายที่นำเสนอมุมมองที่เสียเปรียบ(Disadvantage) ของผู้สูงวัยเกินขอบเขต (Extent)
ตัวอย่างเช่น สิ่งตีพิมพ์ (Publications) ทั้งหลาย รวมทั้งเว็บไซต์ได้ประกาศ (Pronounce) ในเรื่องการออกแบบปฏิสัมพันธ์ (Interface) ของคอมพิวเตอร์ที่ให้ความสำคัญ (Priority) แก่การตอกย้ำการเข้าถึงโดยรถเข็น (Wheelchair access), วิธีใช้ที่เข้าใจง่าย (Simple instruction), และตัวอักษรที่พิมพ์โตๆ (Large print) ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับผู้อ่านกลุ่มน้อย
ดังนั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงเป็นความเจริญแบบผสม (Mixed blessings) สำหรับผู้สูงวัย แม้บางสิ่งบางอย่างอาจเป็นความหวังที่โดดเด่น (Prominent) แต่รายละเอียดในทางปฏิบัติยังมิได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพียงพอ เครื่องจักรที่ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยประหยัดแรงงานอาจทำงานไม่ได้ หรือสร้างปัญหามากกว่าให้ประโยชน์
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Technology and the New Environment for the Elderly https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK219343/ [2021, February 23].