จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 305 : สังคมเทคโนโลยี (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 17 กุมภาพันธ์ 2564
- Tweet
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอื่น อาจให้ผลลัพธ์ผสม [ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ] ในทางทฤษฎี มันควรจะเป็นประโยชน์ (Boon) ต่อผู้สูงวัย แต่ในทางปฏิบัติ อาจประสบปัญหาที่ต่อต้าน (Militate) การใช้ให้สัมฤทธิ์ผล ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Household appliances) สมัยใหม่ได้คลายความเครียด (Strain) จากงานครัวและงานบ้าน (House work)
เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ราคาไม่แพงเกินไปสำหรับผู้สูงวัยส่วนมาก แต่เป็นประโยชน์มหาศาล (Immense) อย่างไม่ต้องสงสัย ตัวอย่างเช่น ตู้เย็น (Refrigerator) และวิธีการรักษา (Preserve) อาหาร ได้ลดความเสี่ยงของอาหารเป็นพิษ เมื่อความรู้สึก (Sense) ของผู้สูงวัยสูญเสียความแหลมคม (Blunt) จนถึงจุดที่เขาไม่สามารถค้นพบสิ่งผิดปรกเหมือนเมื่อก่อน
นอกจากนี้ การมาถึงของ “ตู้เย็นอัจฉริยะ” (Smart fridge) [หลังการรอคอยมานาน] ซึ่งสามารถอ่านรหัสแท่ง (Bar code) บนอาหารที่หุ้มห่อล่วงหน้า (Pre-wrapped) และสามารถเตือนเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างไม่ปลอดภัยที่จะรับประทาน จะเพิ่มพูน (Enhance) ประโยชน์ใช้สอยไม่น้อย
ในขณะเดียวกัน (Simultaneously) เครื่องมือ (Device) ที่ประหยัดแรงงาน และสามารถตรวจสอบความปลอดภัย อาจส่งเสริมให้ผู้สูงวัยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย (Exercise) และอิ่มเอมใจ (Complacent) จนเกินไป ดังนั้น สุขภาพของเขาอาจทรุดโทรมลง เพราะขาดกิจกรรมทางกายภาพ และมองโลกในแง่ดีจนเกินไป อาทิ ขาดความปลอดภัยในอาหารจนเกิดเป็นพิษ
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอื่น อาจมีแนวโน้ม (Prone) ที่จะถูกใช้ในทางที่ผิด (Misuse) ตัวอย่างเช่น ในกรณีเครื่องจ่ายยา (Dispenser) ที่ควบคุมด้วยชิปขนาดจิ๋ว (Micro-chi) นั้น เวลาจ่ายยามีความสำคัญ (Vital) ต่อประสิทธิผล (Efficacy) ของยามาก ตามปรกติ เครื่องจ่ายยาดังกล่าวจะส่ง (Emit) เสียงร้อง (Beep) โดยอัตโนมัติ เมื่อถึงเวลาที่ผู้ป่วยต้องกินยา
แต่เนื่องจากผู้สูงวัยบางคนอาจหลงลืม (Forgetful) วางเครื่องจ่ายยาดังกล่าวไว้ในระยะที่อาจไม่ได้ยินเสียง (Earshot) หรือไม่ก็จำไม่ได้ว่า เสียงดังกล่าว กล่าวเตือนให้ทำอะไร ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันที่แผ่ขยายไปยังสิ่งประดิษฐ์ (Gadgetry) ที่ได้รับการออกแบบ (Design) ให้ช่วยผู้ป่วยที่พิการทางจิต (Mentally-disadvantaged) ต้องจดจำการใช้มัน
เครื่องช่วยการจดจำ (Aides-memoire) อาทิ กล่องยาส่งเสียงร้อง (Beeping pillbox), คอมพิวเตอร์มือถือ (Palm-held), หรือเครื่องบันทึกรายวัน (Electronic diary) ล้วนมีปัญหา (Fall foul) ไม่น้อย ความยากที่เกิดจากความทรงจำเสื่อมถอย แสดงถึงขนาด (Magnitude) ของปัญหาที่นักออกแบบเผชิญอยู่
นวัตกรรมเทคโนโลยีอื่น อาจไม่ประสบกับปัญหานี้ และดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ (Benevolent) ในเบื้องต้น อาทิ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ แต่ผู้สูงวัยอาจเข้าถึงด้วยการเดินทางไปพบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ส่วนศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดจากทางไกลในระบบผู้เชี่ยวชาญ อาจทำให้ผู้ป่วยสูงวัยผิดหวังเพราะคาดว่าจะได้พบตัวตนศัลยแพทย์จริงๆ
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Technology and the New Environment for the Elderly https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK219343/ [2021, February 16].