จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 304 : สังคมเทคโนโลยี (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-304

      

อาจมีข้อจำกัดประชากร (Demographic limit) ที่คล้ายคลึงในขอบเขตของผู้สูงวัยที่ใช้อินเทอร์เน็ต สื่อ (Medium) นี้ ควรให้ประโยชน์พิเศษ (Especial benefit) แก่ผู้สูงวัยจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ข้อมูลมีอยู่ (Available) มหาศาลให้เรียนรู้ และเป็นโอกาสให้ร่วมอภิปรายเป็นกลุ่ม พร้อมความรู้สึกไม่ต้องเร่งรีบ (Rush) โดยไม่ต้องออกจากบ้านที่ปลอดภัยและสะดวกสบาย

การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งธรรมดาสามัญในสหรัฐอเมริกามากกว่าประเทศที่เหลือในโลกนี้ แต่ความแตกต่างระหว่างประเทศจะหดตัวน้อยลง (Shrink) ปีแล้วปีเล่า และการเชื่อมโยงกับโทรศัพท์ก็สามารถจ่ายได้ (Affordable) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ในสหรัฐอเมริกา ผู้ใหญ่สูงวัยเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มน้อยที่สุดที่จะใช้คอมพิวเตอร์

ผู้สูงวัยบางส่วน อาจถูกขัดขวาง (Deter) จากการใช้คอมพิวเตอร์ เพราะความรู้สึกว่า ปราศจากการควบคุม, ลดความเป็นมนุษย์ลง (De-humanization), และเพิ่มความวิตกกังวล แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้ อาจไม่เกี่ยวข้องกับขอบเขต (Degree) ของความสำเร็จในช่วงแรก (Initial) ของการฝึกอบรม แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนด (Determine) การมีส่วนร่วม (Participation) ในการใช้คอมพิวเตอร์ ในขณะที่ผู้อื่นอาจหยั่งเห็น (Perceive) ว่า ผู้สูงวัยไม่สนใจในคอมพิวเตอร์มากนัก

รายงานในสื่อที่น่าตกใจ (Lurid) ของการดำเนินคดี (Prosecution) กับผู้ครอบครอง (Possess) ภาพลามกเด็ก (Child pornography) ซึ่งดาวน์โหลด (Download) จากอินเทอร์เน็ต ไม่ส่งเสริม (Enhance) ภาพลักษณ์ของผู้ท่องเว็บ (Web surfing) ว่าเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมในสายตาของผู้สูงวัยที่น่านับถือ (Respectable)

เมื่อผู้สูงวัยใช้อินเทอร์เน็ต อย่างน้อยในสหรัฐอเมริกา เขามีแนวโน้มที่จะใช้สำหรับอีเมล ซึ่งเป็นการใช้งานทางสังคม (Social function) ส่วนอินเทอร์เน็ตจอาจเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ และควรได้รับการส่งเสริมอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงวัย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประสบการณ์ในเชิงบวก

การศึกษาอื่นพบสิ่งที่คล้ายคลึงกันว่า เมื่อผู้สูงวัยใช้คอมพิวเตอร์ เขารู้สึกว่าได้รับมอบอำนาจ (Empower) หรืออย่างน้อยได้ประสบการณ์ที่สนุกสนาน (Enjoyable) อย่างไรก็ตาม แรงต้าน (Resistance) ต่อการเริ่มใช้ และ/หรือ ออกจาการฝึกอบรมอย่างกลางคัน (Drop-out) อาจมีค่อนข้างสูง

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่า สิ่งกีดขวาง (Barrier) ต่อเว็บไซต์ (Web-site) มักอยู่ที่การออกแบบที่ค่อนข้างแย่ (Poor design) มากกว่าข้อมูลประเทืองปัญญา (Intelligence) ซึ่งแสดงว่า อุปสรรค (Block) ต่อการใช้เว็บไซต์อาจเป็นภาพลวงตา (Illusory) เพราะผลิตผล (Product) ของการออกแบบมากกว่าความบกพร่อง (Deficit) ที่สัมพันธ์กับแก่นแท้จริง (Intrinsic) ของอายุ

การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ แสดงว่า แม้การใช้คอมพิวเตอร์ในผู้สูงอายุจะเป็นส่วนของตลาด (Market segment) ที่เติบโตเร็วที่สุด แต่ประสบการณ์ก่อนหน้านั้นของผู้ใช้ (User) สูงวัย ยังพบว่าคอมพิวเตอร์มิใช่สิ่งที่จะใช้ได้อย่างง่ายดาย

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Technology and the New Environment for the Elderly https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK219343/ [2021, February 9].