จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 303 : สังคมเทคโนโลยี (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-303

      

ในการก่อให้เกิดกิจกรรมนันทนาการ (Leisure) เราไม่อาจประเมินต่ำ (Under-estimate) เกินไปในผลกระทบของโทรทัศน์ต่อชีวิตทันสมัย นอกจากความบันเทิง (Entertainment) แล้ว โทรทัศน์ยังทำให้ผู้สูงวัยเห็นหลากหลายสถานที่, ละคร, คอนเสิร์ต, และเหตุการณ์วัฒนธรรมอื่น ซึ่งเขาอาจไม่แข็งแรง (Robust) พอทั้งทางร่างกายและทางการเงินที่จะไปเยี่ยมชม (Attend)

ผู้สูงวัย (โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ตามลำพังคนเดียว) มักรายงายว่า ได้ใช้โทรทัศน์ หรือวิทยุ เป็นเสียงภูมิหลัง (Background noise) กล่าวคือ เป็น “เพื่อน” โดยปราศจากรการชมหรือฟังโปรแกรม อย่างไรก็ตาม รายการเหล่านี้ก็มีผลเสีย (Disadvantage) เหมือนกัน เพราะโปรแกรมจัดขึ้นเพื่อความต้องการของผู้ใหญ่วัยเยาว์มากกว่า

การนำเสนอโปรแกรมอาจอยู่ในลักษณะที่น่าตกใจ (Lurid) จนเกินไปสำหรับรสนิยมของผู้สูงวัย หรือแม้แต่เนื้อหา (Content) ขั้นพื้นฐานอาจไม่น่าสนใจ (Unappealing) อาทิ โปรแกรมสำหรับวัยรุ่น ในขณะเดียวกันก็มีมากมายหลายช่องสำหรับเด็กและชีวิตเชื่องช้า (Lobotomized) ของผู้ชายเยาว์วัย

ส่วนการมาถึง (Advent) ของโปรแกรมเฉพาะกลุ่ม (Niche) อันเกิดขึ้นได้จากจำนวนช่องหลากหลาย (Multi-channel) ที่น่ารื่นรมย์ (Delight) ซึ่งส่งผ่านดาวเทียม (Satellite) และโทรทัศน์สายเคเบิ้ล (Cable) ก็ยังไม่ได้นำ (Yield) ซึ่งความน่าใจแก่ผู้สูงวัย ยังไม่มีช่องไหนที่อุทิศ (Dedicated) ให้กับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ

อาจมีบางรายการที่น่าสนใจเป็นพิเศษและบางครั้งคุมค่า (Worthy) แก่การชม แต่อาจนำเสนอผ่านโทรทัศน์ชุมชน (Community Television) อย่างน่าเบื่อ (Dull) สำหรับผู้สูงวัย โปรแกรมส่วนมากมุ่งเน้นไปที่ผู้ชม (Audience) วัยหนุ่มสาว อย่างไรก็ตาม ผู้สูงวัยมักเป็นผู้ชมรายการที่แข็งขัน (Solid) ตลอดวัน [เพราะมีเวลาว่างมากกว่าผู้ชมวัยอื่น] การค้นพบนี้สะท้อน (Echo) ข้ามหลากหลายประเทศ

ในอนาคตอาจมีช่องทาง (Outlet) สำหรับสถานีท้องถิ่นในชุมชนที่ออกอากาศที่นำเสนอรายการอันห้อมล้อมด้วยนานากิจกรรม (Pocket of activities) โดยมีสัดส่วนเป็นจำนวนมากสำหรับผู้ชม(Viewer) สูงวัยโดยเฉพาะ เหมือนในสหรัฐอเมริกาที่ประสบความสำเร็จพอควร

ช่องทางสิ่งตีพิมพ์ (Printed) อาทิ นิตยสารและงานตีพิมพ์ (Publications) เฉพาะ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในเชิงพาณิชย์ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่สนใจเฉพาะกลุ่ม (Niche) ภายในชุมชนสูงวัยเท่านั้น ผู้สูงวัยชนชั้นกลางที่ร่ำรวย (Affluent) ย่อมสนใจมากกว่าในการท่องเที่ยวพักผ่อนที่แพง (Expensive holidays) และคำปรึกษาการลงทุน (Investment advice)

แต่ด้วยเหตุผลทางประชากร, สังคม, และเศรษฐกิจ งานตีพิมพ์เพื่อดึงดูดความสนใจในวงกว้างมากๆ มีแนวโน้มที่จะไม่คุ้มค่า (Viable) ในเชิงพาณิชย์

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Technology and the New Environment for the Elderly https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK219343/[2021, January 26].